คำศัพท์ :
ชยปริตร"ปริตรแห่งชัยชนะ", ปริตรบทหนึ่ง ประกอบด้วยคาถาที่แต่งขึ้นใหม่ในยุคหลัง โดยนำเอาพุทธพจน์ (สุนกฺขตฺตํ สุมงฺคลํ ฯเปฯ สห สพฺเพหิ ญาติภิ, องฺ.ติก.
20/595/379) มาตั้งเป็นแกน เริ่มต้นว่า "มหาการุณิโก นาโถ" จัดเป็นปริตรบทที่ ๑๒ (บทสุดท้าย) ใน "สิบสองตำนาน"
ชยปริตรนี้ นิยมสวดกันมาก นอกจากใช้สวดรวมในชุดสิบสองตำนาน และพ่วงท้ายเจ็ดตำนานแล้ว ยังตัดเอาบางส่วนไปใช้ต่างหากจากชุด สำหรับสวดในพิธี หรือในโอกาสอื่นด้วย เช่น นำไปสวดต่อจากชยมังคลัฏฐกคาถา (พุทธชัยมงคลคาถา) ในการถวายพรพระ และจัดเป็นบทเฉพาะสำหรับสวดในกำหนดพิธีพิเศษ หรือมงคลฤกษ์ต่างๆ เป็นต้นว่า โกนผมไฟ ตัดจุก วางศิลาฤกษ์ เปิดงาน เปิดร้าน รับพระราชทานปริญญาบัตร เททอง หล่อพระ เรียกว่าเจริญชัยมงคลคาถา
ชยปริตรที่นำบางส่วนมาใช้นั้น เรียกส่วนที่นำเอามาว่า ชยปริตตคาถา (คาถาของชยปริตร คือไม่ใช่เต็มทั้งชยปริตร), โดยเฉพาะชยปริตรคาถาส่วนที่ทำมาใช้ในการเจริญชัยมงคลคาถา เรียกชื่อเป็นพิเศษว่า ชัยมงคลคาถา ได้แก่คาถาต่อไปนี้
ชยนฺ โต โพธิยา มูเล สกฺยานํ นนฺทิวฑฺฒโน
เอวํ ตฺวํ วิชโย โหหิ ชยสฺสุ ชยมงฺคเล
อปราชิตปลฺลงฺเก สีเส ปฐวิโปกฺขเร
อภิเสเก สพฺพพุทฺธานํ อคฺคปฺปตฺโตปโมทติฯ
สุนกฺขตฺํต สุมงฺคํล สุปภาตํ สุหุฏฐิตํ
สุขโณ สุมุหุตฺโต จ สุยิฏํฐ พฺรหฺมจาริสุ
ปทกฺขิณํ กายกมฺมํ วาจากมฺมํ ปทกฺขิณํ
ปทกฺขิณํ มโนกมฺมํ ปณิธี เต ปทกฺขิณา
ปทกฺขิณานิ กตฺวาน ลภนฺตตฺเถ ปทกฺขิเณ ฯ
เมื่อสวดชัยมงคลคาถานี้จบแล้ว ก็ต่อลงท้ายด้วยสัพพมังคลคาถา (มังคลโสตถิคาถา ก็เรียก) คือ "ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯเปฯ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต" เป็นอันจบการเจริญชัยมงคลคาถา
ดู ปริตร, ถวายพรพระ