คำศัพท์ :
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 31 [คลิก]
คำศัพท์ : นิสสัคคิยปาจิตตีย์

อาบัติปาจิตตีย์ อันทำให้ต้องสละสิ่งของ ภิกษุต้องอาบัติประเภทนี้ ต้องสละสิ่งของที่ทำให้ต้องอาบัติก่อน จึงจะปลงอาบัติตก, มีทั้งหมด ๓๐ สิกขาบท จัดเป็น ๓ วรรค คือ จีวรวรรค (มี ๑๐ สิกขาบท) โกสิยวรรค (มี ๑๐ สิกขาบท) และปัตตวรรค (มี ๑๐ สิกขาบท)

ตัวอย่างคำเสียสละ ในบางสิกขาบท:

จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑ (ทรงอติเรกจีวรเกิน ๑๐ วัน) ของอยู่ในหัตถบาส ว่า “อิทํ เม ภนฺเต จีวรํ ทสาหาติกฺกนฺตํ นิสฺสคฺคิยํ, อิมาหํํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ.”(ถ้าผู้สละแก่พรรษากว่าผู้รับ ว่า “อาวุโส” แทน “ภนฺเต”), ถ้าสละ ๒ ผืนขึ้นไป ว่า “อิมานิ เม ภนฺเต จีวรานิ ทสาหาติกฺกนฺตานิ นิสฺสคฺคิยานิ, อิมานาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ.”; ถ้าของอยู่นอกหัตถบาส ว่า เอตํ” แทน “อิทํ” และ “เอตาหํ” แทน “อิมาหํ”, ว่า “เอตานิ” แทน “อิมานิ” และ “เอตานาหํ” แทน “อิมานาหํ”; คำคืนให้ (ถ้าหลายผืน หรืออยู่นอกหัตถบาส พึงเปลี่ยนโดยนัยข้างต้น) ว่า “อิมํ จีวรํ อายสฺมโต ทมฺมิ”

จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒ (อยู่ปราศจากไตรจีวรล่วงราตรี) ของอยู่ในหัตถบาสว่า “อิทํ เม ภนฺเต จีวรํ รตฺติวิปฺปวุตฺถํ อญฺญตฺร ภิกฺขุสมฺมติยา นิสฺสคฺคิยํ, อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ.”, ถ้า ๒ ผืน ว่า “ทฺวิจีวรํ” ถ้าทั้ง ๓ ผืน ว่า “ติจีวรํ” (คำคืนผ้าให้ และคำเปลี่ยนทั้งหลาย พึงทราบเหมือนในสิกขาบทแรก)

โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘ (รับทองเงิน - ต้องสละในสงฆ์) ว่า “อหํ ภนฺเตรูปิยํ ปฏิคฺคเหสึ, อิทํ เม นิสฺสคฺคิยํ, อิมาหํ สงฺฆสฺส นิสฺสชฺชามิ.”

โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙ (แลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ - ต้องสละในสงฆ์) ว่า “อหํ ภนฺเต นานปฺปการกํ รูปิยสํโวหารํ สมาปชฺชึ, อิทํ เม นิสฺสคฺคิยํ, อิมาหํ สงฺฆสฺส นิสฺสชฺชามิ.”

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ (เก็บเภสัชไว้ฉันล่วง ๗ วัน) ว่า “อิทํ เม ภนฺเต เภสชฺชํ สตฺตาหาติกฺกนฺตํ นิสฺสคฺคิยํ, อิมาหํ อายสฺมโต นิสฺสชฺชามิ.” คำคืนให้ว่า “อิมํ เภสชฺชํ อายสฺมโต ทมฺมิ” (เภสัชที่ได้คืนมา มิให้ฉัน พึงใช้ในกิจอื่น)