คำศัพท์ :
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 31 [คลิก]
คำศัพท์ : ปาฏิหาริยปักษ์

“ปักษ์ที่พึงหวนกลับไปนำมารักษาซ้ำทุกปีๆ”, เป็นชื่อวิธีรักษาอุโบสถแบบหนึ่งสำหรับคฤหัสถ์ เรียกตามกำหนดระยะเวลาที่ตั้งไว้สำหรับรักษาประจำปี แต่ระยะเวลาที่กำหนดนั้นอรรถกถาทั้งหลายมีมติแตกต่างกันไป หลายแบบหลายอย่าง จนบางแห่งบอกว่าพึงเลือกตามมติที่พอใจ เพราะความสำคัญอยู่ที่การตั้งใจรักษาด้วยจิตปสาทะให้เต็มอิ่มสมบูรณ์ (เช่น มติหนึ่งว่าคืออุโบสถที่รักษาประจำต่อเนื่องตลอดไตรมาสแห่งพรรษา ถ้าไม่สามารถ ก็รักษาตลอดเดือนหนึ่งระหว่างวันปวารณาทั้งสอง คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ถ้าไม่สามารถ ก็รักษาครึ่งเดือนถัดจากวันปวารณาแรกคือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นต้นไป ตลอดกาฬปักษ์ คือตลอดข้างแรม, แต่มติหนึ่งว่ารักษา ๕ เดือน คือตั้งแต่ก่อนพรรษา ๑ เดือน ตลอดพรรษา ๓ เดือนกับหลังพรรษาอีก ๑ เดือน, อีกมติหนึ่งว่ารักษา ๓ เดือน คือเดือน ๘ เดือน ๑๒ และเดือน ๔, อีกมติหนึ่งว่าคือ ๔ วันก่อนและหลังวันอุโบสถปกติ ได้แก่วัน๑๓ ๑ ๗ และ ๙ ค่ำ มติท้ายนี้กลายเป็นมีวันรับ-วันส่ง ซึ่งจะสับสนกับปฏิชาครอุโบสถ), ปาฏิหาริยปักษ์นี้บางทีก็เรียกว่าปาฏิหาริยอุโบสถ ซึ่งเป็นอย่างหนึ่งในอุโบสถ ๓ ประเภท ของคฤหัสถ์
ดู อุโบสถ 2.๓.