ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 31
[คลิก]
คำศัพท์ : ทีฆนขสูตร
พระสูตรที่พระพุทธเจาทรง แสดงแกทีฆนขปริพาชก (ม.ม.13/269/263); ในอรรถกถามักเรียกวา เวทนาปริคคหสูตร) ที่ถ้ําสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห ในวันขึ้น ๑๕ ค่ํา แหง มาฆมาส หลังตรัสรูได ๙ เดือน ซึ่งพระสารีบุตรสดับแลวไดบรรลุอรหัตตผล, วาดวยการยึดถือทิฏฐิหรือทฤษฎีตางๆ ซึ่งเปนเหตุใหทะเลาะวิวาทกัน ทรงสอนวาเมื่อมองเห็นสภาวะของชีวิตรางกายนี้ที่ไมเที่ยง ไมคงทน เปนตน ตลอดจน ไมเปนตัวตนจริงแทแลวก็จะละความติดใครเยื่อใยและความเปนทาสตามสนองรางกายเสียได อีกทั้งเมื่อรูเขาใจ เวทนาทั้ง ๓ วาไมเที่ยง เปนสิ่งที่ปจจัยปรุงแตงขึ้นมา ปรากฏขึ้นเพราะเหตุปจจัยจะตองสิ้นสลายไปเปนธรรมดา ก็จะจางคลายหายติดในเวทนาทั้งสาม นั้น หลุดพนเปนอิสระได และผูที่มีจิตหลุดพนแลวอยางนี้ ก็จะไมเขาขางใคร ไมวิวาทกับใคร อันใดเขาใชพูดจากันใน โลก ก็กลาวไปตามนั้น โดยไมยึดติดถือมั่น
ดู ทีฆนขะ