คำศัพท์ :
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 31 [คลิก]
คำศัพท์ : มหายาน

“ยานใหญ”, นิกายพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นหลังพุทธปรินิพพาน ประมาณ ๕๐๐–๖๐๐ ป โดยสืบสาย จากนิกายที่แตกแยกออกไปเมื่อใกล พ.ศ.๑๐๐ ( ถือกันวาสืบตอไปจากนิกาย มหาสังฆิกะ ที่สูญไปแลว) เรียกชื่อตน วามหายาน และบางทีเรียกวาโพธิสัตวยาน (ยานของพระโพธิสัตว) พรอมทั้งเรียกพระพุทธศาสนาแบบเกาๆ รวมทั้ง เถรวาทที่มีอยูกอนวา หีนยาน (คําวาหีนยานจึงเปนคําที่เกิดขึ้นภายหลัง แตใชเรียกสิ่งที่เกากวา) หรือเรียกวาสาวกยาน (ยานของสาวก), มหายานนั้นมีผูนับถือมากในประเทศแถบเหนือของทวีปเอเชีย เชน จีน เกาหลี ญี่ปุน ทิเบต และ มองโกเลีย บางทีจึงเรียกวา อุตรนิกาย (นิกายฝายเหนือ) เปนคูกับ ทักษิณนิกาย (นิกายฝายใต) คือ เถรวาท ที่นับถืออยูในประเทศแถบใต เชน ไทยและลังกา ซึ่งทางฝายมหายานเรียกรวมไวในคําวา หีนยาน, เนื่องจากเถรวาท เปนพระพุทธ ศาสนาแบบดั้งเดิม จึงมีคําเกาเขาคูกัน อันใชเรียกนิกายทั้งหลายที่แยกออกไป รวมทั้งนิกายยอยมากมายของมหายาน หรือเรียกมหายานรวมๆ ไปวา อาจริยวาท หรือ อาจารยวาท ( ลัทธิของอาจารยที่เปนเจานิกายนั้นๆ), ลักษณะสําคัญ อยางหนึ่งที่นาสังเกตคือ เถรวาท ไมวาที่ไหนในประเทศใด ก็ถือตามหลักการเดิมเหมือนกันหมด สวนมหายาน แยกเปนนิกายยอยมากมาย มีคําสอนและขอ ปฏิบัติแตกตางกันเองไกลกันมากแมแตในประเทศเดียวกัน เชน ในญี่ปุน ปจจุบันมีนิกายใหญ ๕ แยกยอยออกไป อีกราว ๒๐๐ สาขานิกาย และในญี่ปุน พระมีครอบครัวไดแลวทุกนิกาย แตในไตหวัน เปนตน พระมหายานไมมีครอบครัว
เทียบ เถรวาท, หีนยาน