คำศัพท์ :
มาตราประมาณ, การกำหนดประมาณ, เกณฑ์วัดและนับต่างๆ เช่น นับเวลา วัด ขนาด วัดระยะทาง, มาตราที่ควรรู้ดังนี้
มาตราเวลา
(จันทรคติ)
๑๕ หรือ ๑๔ วัน เป็น ๑ ปักษ์
๒ ปักษ์ “ ๑ เดือน
๔ เดือน “ ๑ ฤดู
๓ ฤดู (๖ ฤดู ก็มี) “ ๑ ปี
(
๑๔ วัน คือ ข้างแรมเดือนขาด)
ข้างขึ้น เรียกศุกลปักษ์
หรือ ชุณหปักษ์,
ข้างแรม เรียกกาฬปักษ์
หรือ กัณหปักษ์;
วันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เรียกปุรณมี
หรือ บูรณมี,
วันดับ (แรม ๑๕ หรือ ๑๔ ค่ำ) เรียกอมาวสี
เนื่องจากปีจันทรคติสั้นกว่าปีสุริยคติปีละ ๑๑ วันเศษ เพื่อปรับระยะกาลของปีจันทรคติให้ใกล้เคียงกับปีสุริยคติ จึงเติมอธิกมาส ๗ ครั้ง ในรอบ ๑๙ ปีทำให้ปีที่เติมนั้นๆ มีเดือน ๘ สองหน
เดือน (มาส) ๑๒ ตั้งแต่เดือน ๕ ดังนี้:
เดือน ๕ จิตต หรือ จิตร
เดือน ๖ วิสาข
เดือน ๗ เชฏฐ
เดือน ๘ อาสาฬห
เดือน ๙ สาวน หรือ สาวณ
เดือน ๑๐ ภัททปท หรือ โปฏฐปท
เดือน ๑๑ อัสสยุช หรือ ปฐมกัตติก
เดือน ๑๒ กัตติก
เดือน ๑ มาคสิร หรือ มิคสิร
เดือน ๒ ปุสส หรือ ผุสส
เดือน ๓ มาฆ
เดือน ๔ ผัคคุณ
(แต่ละเดือน นิยมเติม ‘มาส’ ต่อท้าย เช่นจิตรมาส, วิสาขมาส เป็นต้น)
ฤดู (อุตุ) ๓ คือ
๑. วัสสานะ ฤดูฝน = แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
๒. เหมันต์ ฤดูหนาว = แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๒ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔
๓. คิมหะ, คิมหานะ ฤดูร้อน = แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
ฤดู (อุตุ) ๖ คือ
๑. วัสสานะ ฤดูฝน = แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
๒. สรทะ ฤดูท้ายฝน = แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
๓. เหมันต์ ฤดูหนาว = แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒
๔. สิสิระ ฤดูเยือก = แรม ๑ ค่ำ เดือน ๒ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔
๕. วสันต์ ฤดูใบไม้ผลิ = แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
๖. คิมหะ, คิมหานะ ฤดูร้อน = แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
มาตราวัด
๗ เล็ดข้าว | เป็น | ๑ นิ้ว |
๑๒ นิ้ว | ” | ๑ คืบ |
๒ คืบ | ” | ๑ ศอก |
๔ ศอก | ” | ๑ วา |
๒๕ วา | ” | ๑ อุสภะ |
๘๐ อุสภะ | ” | ๑ คาวุต |
๔ คาวุต | ” | ๑ โยชน์ |
หรือ
๔ ศอก เป็น ๑ ธนู
๕๐๐ ธนู ” ๑ โกสะ
๔ โกสะ ” ๑ คาวุต
๔ คาวุต ” ๑ โยชน์
อย่างละเอียด
๓๖ ปรมาณู เป็น ๑ อณู
๓๖ อณู ” ๑ ตัชชารี
๓๖ ตัชชารี ” ๑ รถเรณู
๓๖ รถเรณู ” ๑ ลิกขา
๗ ลิกขา ” ๑ อูกา
๗ อูกา ” ๑ ธัญญมาส
๗ ธัญญมาส (เล็ดขา้ ว) ” ๑ อังคุละ
๑๒ อังคุละ (นิ้ว) ” ๑ วิทัตถิ
๒ วิทัตถิ (คืบ) ” ๑ รตนะ
๗ รตนะ (ศอก) ” ๑ ยัฏฐิ
๒๐ ยัฏฐิ (ไม้เท้า) ” ๑ อุสภะ
๘๐ อุสภะ ” ๑ คาวุต
๔ คาวุต ” ๑ โยชน์
(สิ่งที่มีขนาดถึง ๑ ลิกขาขึ้นไป จึงเห็นได้ด้วยตาเปล่า; “ศอก” บาลีเรียก
รตนะ บ้าง
หัตถะ บ้าง, “ไม้เท้า” เรียก
ยัฏฐิ บ้าง
ทัณฑะ บ้าง, น่าสังเกตว่าในชั้นอรรถกถา มักกล่าวถึง
ทัณฑะยาว ๔ หัตถะ คือไม้เท้ายาว ๔ ศอก, เช่น ม.อ.
1/169/381 แต่ในคัมภีร์ชั้นหลังที่แสดงเรื่องมาตรา กล่าวว่า ๑
ยัฏฐิ/ทัณฑะ เท่ากับ ๕ หรือ ๗
รตนะ/หัตถะ)
ตัวอย่างนัยที่เพียงฟังไว้
๑๐ เกสา (ผม) เป็น ๑ ติละ
๖ ติละ (เม็ดงา) ” ๑ ยวะ
๔ ยวะ (ข้าวเหนียว) ” ๑ อังคุละ
๘ อังคุละ (นิ้ว) ” ๑ มุฏฐิ
๓ มุฏฐิ (กำมือ) ” ๑ รตนะ
๒๘ รตนะ (ศอก) ” ๑ อัพภันดร
มาตราตวง
๔ มุฏฐิ (กำมือ) เป็น ๑ กุฑวะ
๒ กุฑวะ (ฟายมือ) ” ๑ ปัตถะ
๒ ปัตถะ (กอบ) ” ๑ นาฬี
๔ นาฬี (ทะนาน) ” ๑ อาฬหกะ
หรือ
๔ มุฏฐิ (กำมือ) เป็น ๑ กุฑวะ
๔ กุฑวะ (ฟายมือ) ” ๑ ปัตถะ
๔ ปัตถะ (กอบ) ” ๑ อาฬหกะ
๔ อาฬหกะ ” ๑ โทณะ
๔ โทณะ ” ๑ มานิกา
๔ มานิกา ” ๑ ขารี, ขาริกา
๒๐ ขารี, ขาริกา ” ๑ วาหะ
(นี้ว่าตาม สุตต.อ.๒/๓๐๗ เป็นต้น ซึ่งบอกไว้ด้วยว่า ๑ วาหะ = ๑ สกฏะ (เกวียน) แต่ในอรรถกถาแห่งฆฏิการสูตร, ม.อ.๓/๒๐๙ ว่า ในที่นั้น ๒ สกฏะ เป็น ๑ วาหะ ซึ่งอาจจะหมายความเฉพาะในกรณีนั้น แต่ก็ทำให้เกิดปมที่ไม่กระจ่าง)
มาตราชั่งของ
๔ วีหิ (เล็ดข้าวเปลือก) เป็น ๑ คุญชา, กุญชา
๒ คุญชา, กุญชา ” ๑ มาสก
๕ มาสก ” ๒ อักขะ
๘ อักขะ ” ๑ ธรณะ
๑๐ ธรณะ ” ๑ ปละ
๑๐๐ ปละ ” ๑ ตุลา
๒๐ ตุลา ” ๑ ภาระ
มาตราชั่งทอง
๔ วีหิ (เล็ดข้าวเปลือก) เป็น ๑ คุญชา, กุญชา
๒ คุญชา, กุญชา ” ๑ มาสก
๕ มาสก ” ๒ อักขะ
๘ อักขะ ” ๑ ธรณะ
๕ ธรณะ ” ๑ สุวัณณะ
๕ สุวัณณะ ” ๑ นิกขะ
มาตรารูปิยะ
๕ มาสก เป็น ๑ บาท
๔ บาท ” ๑ กหาปณะ
มาตราพิเศษ
มาตราบางอย่าง แต่เดิมคงกำหนดขึ้นเพื่อให้พระภิกษุที่อยู่ในกาลเทศะหลากหลาย แม้ไม่มีอุปกรณ์ ก็สามารถปฏิบัติตามพระวินัยได้ (ไม่ถึงแม่นยำเด็ดขาด)
นิ้วสุคต, คืบสุคต
ตามมติของอรรถกถา ๑ คืบสุคต = ๑ ศอกครึ่ง (ศอกคืบ) ของช่างไม้
หรือ ๑ ศอกช่างไม้ = ๘ นิ้วสุคต
แต่ในวินัยมุขเล่ม ๑ ทรงชี้ถึงความยุ่งยากในการคำนวณตามสุคตประมาณนี้และทรงมีพระมติซึ่งสรุปได้ว่า เพื่อให้สะดวกและถือข้างน้อยเป็นการปลอดภัยควรเทียบตามมาตราที่ใช้กันเป็นมาตรฐานสากลในปัจจุบัน คือ ระบบเมตริก (Metric system) อย่างที่ตกลงกันว่า ๑ วา = ๒ เมตร ดังนั้น ๑ คืบสุคต =๒๕ ซม. (๘ นิ้วสุคต = ๑๖.๖๗ ซม.)
อัพภันดร
๑ อัพภันดร = ๗ วา (= ๑๔ เมตร)
อุทกุกเขป
อุทกุกเขป “ชั่ววักน้ำสาด” คือ ระยะทางเท่าที่บุรุษผู้มีกำลังปานกลางวักน้ำสาดเต็มแรง (ท่านว่าใช้ทรายก็ได้) ไปตกถึง
เลฑฑุบาต
เลฑฑุบาต “ชั่วขว้างก้อนดินตก” คือ ระยะทางเท่าที่บุรุษผู้มีกำลังปานกลางขว้างก้อนดินไปตกลง