คำศัพท์ :
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 31 [คลิก]
คำศัพท์ : รองเท้า

ในพระวินัยกลาวถึงรองเทาไว้ ๒ ชนิดคือ ๑. ปาทุกา แปลกันวา “เขียงเท้า” (รองเทาไมหรือเกี๊ยะ) ซึ่งรวมไปถึงรองเทาโลหะ รองเท้าแก้ว หรือรองเท้าประดับแก้วตางๆ ตลอดจนรองเท้าสาน รองเท้าถักหรือปกตางๆ สําหรับพระภิกษุหามใชปาทุกาทุกอยาง ยกเว้นปาทุกาไมที่ตรึงอยูกับที่สําหรับถายอุจจาระหรือปสสาวะและเป็นที่ชําระขึ้นเหยียบได้ ๒. อุปาหนา รองเท้าสามัญสําหรับพระภิกษุทรงอนุญาตรองเท้าหนังสามัญ (ถ้าชั้นเดียว หรือมากชั้นแตเปนของเกาใชได้ทั่วไป ถ้ามากชั้นเป็นของใหม ใชได้เฉพาะแตในปจจันตชนบท) มีสายรัด หรือใช้คีบด้วยนิ้ว ไม่ปกหลังเท้า ไมปกส้น ไมปกแข้ง นอกจากนั้น ตัวรองเท้าก็ตาม หูหรือสายรัดก็ตาม จะตองไมมีสีที่ต้องห้าม (คือ สีขาบ เหลือง แดง บานเย็น แสด ชมพู ดํา) ไมขลิบด้วยหนังสัตว์ที่ต้องห้าม (คือ หนังราชสีห์เสือโครง เสือเหลือง ชะมด นาค แมว คาง นกเค้า) ไมยัดนุ่น ไม่ตรึงหรือประดับดัวยขนนกกระทา ขนนกยูง ไม่มีหูเป็นช่อดังเขาแกะเขาแพะ หรืองามแมลงปอง รองเท้าที่ผิดระเบียบเหลานี้ถ้าแกไขให้ถูกต้องแล้ว เชน สํารอกสีออก เอาหนังที่ขลิบออกเสีย เป็นต้น ก็ใช้ได้ รองเท้าที่ถูกลักษณะทรงอนุญาตใหใชไดในวัด สวนที่มิใชต้องห้ามและในป่า ห้ามสวมเข้าบ้าน และถ้าเป็นอาคันตุกะเขาไปในวัดอื่นก็ให้ถอดยกเว้นแตฝาเท้าบางเหยียบพื้นแข็งแล้วเจ็บ หรือในฤดูร้อน พื้นร้อนเหยียบแล้วเท้าพอง หรือในฤดูฝนไปในที่แฉะ ภิกษุผู้อาพาธดวยโรคกษัยสวมกันเท้าเย็นได้