คำศัพท์ :
อนุศาสน์การแนะนำสั่งสอน, คำพร่ำสอน
ดู อนุสาสนี, โอวาท
คำสอนตามพุทธบัญญัติ ที่อุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์บอกแก่ภิกษุใหม่ในเวลาอุปสมบทเสร็จ ประกอบด้วย นิสสัย ๔ และ อกรณียะ ๔ ท่านเรียกรวมว่า “อนุศาสน์” บางทีก็เรียกบอกจำนวนด้วยว่า “อนุศาสน์ ๘” (อกรณีย์ หรือ อกรณียะ ๔ นิยมเรียกกันว่า อกรณียกิจ ๔)
นิสสัย ๔ คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ อย่าง ได้แก่ ๑. เที่ยวบิณฑบาต ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๓. อยู่โคนไม้ ๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า (ท่านบอกไว้เป็นทางแสวงหาปัจจัย ๔ พร้อมทั้งอติเรกลาภของภิกษุ)
อกรณีย์ ๔ (นิยมเรียกว่า อกรณียกิจ ๔) ข้อที่ไม่ควรทำ หมายถึงกิจที่บรรพชิตทำไม่ได้ ๔ อย่าง ได้แก่ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักของเขา ๓. ฆ่าสัตว์ (ที่ให้ขาดจากความเป็นภิกษุ หมายเอาฆ่ามนุษย์) ๔. พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน
คำบอกนิสสัย ๔ และ อกรณียะ ๔ (เรียกรวมว่าคำบอกอนุศาสน์) นี้ ถือตามพุทธบัญญัติในมหาขันธกะ แห่งวินัยปิฎก (วินย.4/143-144/192-195) โดยมีคำเกริ่นนำที่โบราณาจารย์แต่งไว้ ดังนี้
– คำเกริ่นนำ
อนุญฺญาสิ โข ภควา อุปสมปาเทตฺวา จตฺตาโร นิสฺสเย จตฺตาริ จ อกรณียานิ อาจิกฺขิตุํ.
๑. คำบอกนิสสัย ๔
ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย. อติเรกลาโภ สงฺฆภตฺตํ อุทฺเทสภตฺตํ นิมนฺตนํ สลากภตฺตํ ปกฺขิกํ อุโปสถิกํ ปาฏิปทิกํ.
ปํสุกูลจีวรํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย. อติเรกลาโภ โขมํ กปฺปาสิกํ โกเสยฺยํ กมฺพลํ สาณํ ภงฺคํ.
รุกฺขมูลเสนาสนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย. อติเรกลาโภ วิหาโร อฑฺฒโยโค ปาสาโท
หมฺมิยํ คุหา.
ปูติมุตฺตเภสชฺชํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย อติเรกลาโภ สปฺปิ นวนีตํ เตลํ มธุ
ผาณิตํ.
[พระนวกะกล่าวรับว่า “อาม ภนฺเต”]
๒. คำบอกอกรณียะ ๔
อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา เมถุโน ธมฺโม น ปฏิเสวิตพฺโพ อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ. โย ภิกฺขุ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวติ
อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. เสยฺยถาปิ นาม ปุริโส สีสจฺฉินฺโน อภพฺโพ เตน สรีรพนฺธเนน ชีวิตุํ, เอวเมว ภิกฺขุ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ.
อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ น อาทาตพฺพํ อนฺตมโส ติณสลากํ อุปาทาย. โย ภิกฺขุ ปาทํ วา ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อาทิยติ อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. เสยฺยถาปิ นาม ปณฺฑุปลาโส พนฺธนา ปมุตฺโต อภพฺโพ หริตตฺตาย, เอวเมว ภิกฺขุ ปาทํ วา ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อาทิยิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ.
อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา สญฺจิจฺจ ปาโณ ชีวิตา น โวโรเปตพฺโพ อนฺตมโส กุนฺถกิปิลฺลิกํ อุปาทาย. โย ภิกฺขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปติ อนฺตมโส คพฺภปาตนํ อุปาทาย อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. เสยฺยถาปิ นาม ปุถุสิลา ทฺวิธา ภินฺนา อปฺปฏิสนฺธิกา โหติ, เอวเมว ภิกฺขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ.
อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา อุตฺตริมนุสฺสธมฺโม น อุลฺลปิตพฺโพ อนฺตมโส สุญฺญาคาเร อภิรมามีติ. โย ภิกฺขุ ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต อสนฺตํ อภูตํ อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ อุลฺลปติ, ฌานํ วา วิโมกฺขํ วา สมาธึ วา สมาปตฺตึ วา มคฺคํ วา ผลํ วา, อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. เสยฺยถาปิ นาม ตาโล มตฺถกจฺฉินฺโน อภพฺโพ ปุน วิรุฬฺหิยา, เอวเมว ภิกฺขุ ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต อสนฺตํ อภูตํ อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ อุลฺลปิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย. ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ. [พระนวกะกล่าวรับว่า “อาม ภนฺเต”]
– บอกกิจแห่งชีวิตของภิกษุ คือไตรสิกขา
เมื่อบอกนิสสัย ๔ และอกรณียะ ๔ ตามพุทธบัญญัติ ให้รู้ว่าภิกษุจะเป็นอยู่อย่างไรแล้ว มีธรรมเนียมให้บอกไตรสิกขาเป็นการย้ำเตือนให้ภิกษุใหม่แม่นใจที่จะเจริญไตรสิกขาเป็นกิจประจำชีวิตของตนสืบไป ดังนี้
อเนกปริยาเยน โข ปน เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา, ยาวเทว ตสฺส มทนิมฺมทนสฺส ปิปาสวินยสฺส อาลยสมุคฺฆาตสฺส วฏฺฏูปจฺเฉทสฺส ตณฺหกฺขยสฺส วิราคสฺส นิโรธสฺส นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย.
ตตฺถ สีลปริภาวิโต สมาธิ มหพฺพโล โหติ มหานิสํโส, สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหพฺพลา โหติ มหานิสํสา, ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ, เสยฺยถีทํ กามาสวา ภวาสวา อวิชฺชาสวา.
ตสฺมาติห เต อิมสฺมึ ตถาคตปฺเวทิเต ธมฺมวินเย สกฺกจฺจํ อธิสีลสิกฺขา สิกฺขิตพฺพา, อธิจิตฺตสิกฺขา สิกฺขิตพฺพา, อธิปญฺญาสิกฺขา สิกฺขิตพฺพา. ตตฺถ อปฺปมาเทน สมฺปาเทตพฺพํ.
(หากบอกแก่ภิกษุใหม่ ๒ รูปขึ้นไป เปลี่ยน เต เป็น โว, ตนฺเต เป็น ตํ โว)