คำศัพท์ :
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 31 [คลิก]
คำศัพท์ : กุศล

1. “สภาวะที่เกี่ยวตัดสลัดทิ้งสิ่งเลวรายอันนารังเกียจ”, “ความรูที่ทําความชั่วรายใหเบาบาง”, “ธรรมที่ตัดความชั่วอันเปนดุจหญาคา”, สภาวะหรือการกระทําที่ฉลาด กอปรดวยปญญา หรือเกิดจากปญญา เกื้อกูล เอื้อตอสุขภาพ ไมเสียหาย ไรโทษ ดีงาม เปนบุญ มีผลเปนสุข, ความดี (กุศลธรรม), กรรมดี (กุศลกรรม)

ตามปกติ กุศล กับ บุญ เปนคําที่ใชแทนกันได แต กุศล มีความหมายกวางกวา คือ กุศล มีทั้งโลกิยะ (กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร) และโลกุตตระ สวน บุญ โดยทั่วไปใชกับโลกิยกุศล ถาจะหมายถึง ระดับโลกุตตระ มักตองมีคําขยายกํากับไวดวยเชนวา “โลกุตตรบุญ”, พูดอีกอยางหนึ่งวา บุญ มักใชในความหมายที่แคบกวา หรือใชในขั้นตนๆ หมายถึงความดีที่ยังประกอบดวยอุปธิ (โอปธิก) คือ ยังเปน สภาพปรุงแตงที่กอผลในทางพอกพูนให้เกิดสมบัติ อันไดแกความพรั่งพรอม เชน รางกายสวยงามสมบูรณ และมั่งมีทรัพย สิน แต กุศล ครอบคลุมหรือเลยตอไป ถึงนิรูปธิ (ไรอุปธิ) และเนนที่นิรูปธินั้น คือมุงที่ภาวะไรปรุงแตง ความหลุดพนเปนอิสระ โยงไปถึงนิพพาน, พูดอยาง งายๆ เชนวา บุญ มุงเอาความสะอาดหมดจดในแงที่สวยงามนาชื่นชม แต กุศล มุงถึงความสะอาดหมดจดในแงที่เปนความบริสุทธิ์ ไมมีอะไรติดคาง ปลอดโปรง โลง วาง เปนอิสระ, ขอใหดูตัวอยางที่ บุญ กับ กุศล มาดวยกันใน คาถาตอไปนี้ (ขุ.อิติ.25/262/290)

กาเยน กุสล กตฺวา    วาจาย กุสล พหุ

มนสา กุสล กตฺวา    อปฺปมาณ นิรูปธึ

ตโต โอปธิก ปุ    กตฺวา ทาเนน ต พหุ

อเป มจฺเจ สทฺธมฺเม   พฺรหฺมจริเย นิเวสย

(ทานจงทําใหมาก ทั้งดวยกาย ดวย วาจา และดวยใจ ซึ่งกุศลอันประมาณมิได [อัปปมาณ แปลวา มากมายก็ได เปนโลกุตตระก็ได] อันไรอุปธิ [นิรูปธิ] แตนั้นทานจงทําบุญอันระคนอุปธิใหมากดวยทาน แลวจง [ บําเพ็ญธรรม ทาน] ชักจูงแมคนอื่นๆ ใหตั้งอยูในพระ สัทธรรม ในพรหมจริยะ)

คาถานี้ แมจะเปนคําแนะนําแกเทวดา ก็ใชไดทั่วไป คือเปนคําแนะนําสําหรับผูที่จะอยูเปนคฤหัสถวา ในดานแรกหรือ ดานหลักใหทํากุศลที่เปนนิรูปธิซึ่งเปนการศึกษาหรือปฏิบัติเพื่อใหไดสาระของชีวิต โดยพัฒนาตนใหเปนอริยชน โดยเฉพาะเปนโสดาบัน จากนั้น อีกดานหนึ่ง ในฐานะเปนอริยชนก็ทําความดีหรือกรรมสรางสรรคตางๆ อันเปนบุญที่มีผลในทางอุปธิ เชน ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขซึ่งเปนไปตามธรรมดาของมันและที่เปนเรื่องสามัญในสังคมคฤหัสถไดไมเสียหายเพราะเปนผูมีคุณความดีที่เปนหลักประกันใหเกิดแตผลดีทั้งแกตนเองและแกสังคมแลว; ตรงขามกับ อกุศล, เทียบ บุญ, ดู อุปธิ
2. บางแหง (เชน ขุ.เถร.26/170/268) กุศล หมายถึง ความเกษม, ความปลอดภัย, สวัสดิภาพ, ความหวังดี, ความมีเมตตา