ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 31
[คลิก]
คำศัพท์ : สายสิญจน์
เส้นด้ายสีขาวที่ใช้โยงในศาสนพิธีเพื่อเป็นสิริมงคลหรือเพื่อความคุ้มครองป้องกัน เป็นต้น เช่นที่พระถือในเวลาสวดมนต์ และที่นำมาวงรอบบ้านเรือนหรือบริเวณที่ต้องการความคุ้มครอง, ตามที่ปฏิบัติสืบกันมาใช้ด้ายดิบ นำมาจับทบเป็น ๓ หรือ ๙ เส้น, ถ้าพิจารณาตามรูปศัพท์ “สิญจน์” คือการรดน้ำ ซึ่งคงหมายถึงการรดน้ำในพิธีอภิเษก สายสิญจน์จึงอาจจะหมายถึง สายมงคลหรือสายศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสืบมาจากเส้นด้ายหรือสายเชือกที่ใช้ในพิธีอภิเษก, บางทีต้นเดิมของสายสิญจน์อาจมาจาก “ปริตฺตสุตฺต” (ปริตตสูตร-สายพระปริตร) ในคัมภีร์บาลีชั้นหลัง ซึ่งหมายถึงเส้นด้ายเพื่อความคุ้มครองป้องกัน หรือเส้นด้ายในการสวดพระปริตร
ดู ปริตร, ปริตต์