คำศัพท์ :
สันสกฤตชื่อภาษาสามัญซึ่งใช้ในอินเดียสืบมาแต่โบราณ ใช้ในวรรณคดีตั้งแต่เป็นภาษาพระเวท และสืบมาในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และใช้ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานด้วย ถือว่าเป็นภาษาที่ได้ปรุงแต่งขัดเกลาให้มีความระเบียบประณีต จึงเรียกว่า "สันสกฤต" (เขียนอย่างบาลีว่า "สกฺกฏ" แปลว่าจัดทำดีแล้ว) ต่างจาก
ปรากฤต ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของคนพื้นบ้านพื้นเมือง; ในฐานะเป็นภาษาพระเวท เรียกว่า
ฉันทัส, ฉันทส
มีพุทธบัญญัติห้ามมิให้ยกพุทธพจน์เป็นภาษาพระเวท หรือภาษาสันสกฤตนี้ความว่า "ไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยฉันทัส (ภาษาสันสกฤต) ภิกษุรูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ, ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เรียนพุทธพจน์ ด้วยภาษาของตน" (น ภิกฺขเว พุทธวจนํ ฉนฺทโส อาโรเปตพฺพํ, โย อาโรเปยฺย อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส; อนุชานามิ ภิกฺขเว สกาย นิรุตฺติยา พุทฺธวจนํ ปริยาปุณิตุํ" (วินย.7/180/70) คำว่าภาษาของตน (สกา นิรุตติ) อรรถกถาไขความว่าคือภาษาของชาวมคธ อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัส (วินย.อ.๓/๓๕๑) การทรงบัญญัติห้ามอย่างนี้ เป็นการป้องกันมิให้การเรียนพุทธพจน์ถูกจำกัดอยู่ในหมู่ชนชั้นสูง ซึ่งเป็นการผูกขาดการศึกษา
ดู ปรากฤต, สกา นิรุตติ, ฉันทัส