ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 31
[คลิก]
คำศัพท์ : ไตรทศ
“สิบ ๓ ครั้ง” คือ ๓๐ ตรงกับคำบาลีว่า “ติทส” ซึ่งในพระไตรปิฎกพบใช้เฉพาะในคำร้อยกรอง คือคาถา เป็นตัวเลขถ้วนตัดเศษ ของ ๓๓ (บาลี: เตตฺตึส) ซึ่งเป็นจำนวนของคนคณะหนึ่งมีมฆมาณพเป็นหัวหน้า ในตำนานที่ว่า พวกเขาทำบุญร่วมกัน เช่น ทำถนน สร้างสะพาน ขุดบ่อน้ำ ปลูกสวนป่า สร้างศาลาที่พักคนเดินทาง ให้แก่ชุมชน และทำทาน ชวนชาวบ้านตั้งอยู่ในศีล เป็นต้น เมื่อตายแล้วได้เกิดในสวรรค์ที่เรียกชื่อว่า ดาวดึงส์ อันเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๒ ใน ๖ ชั้น ดังที่ในอรรถกถาอธิบายความหมายของ “ดาวดึงส์” ว่า คือ “แดนที่คน ๓๓ คนผู้ทำบุญร่วมกัน ได้อุบัติ”, คำว่า “ติทส” ที่พบในพระไตรปิฎกหมายถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นพื้น แม้ว่าคัมภีร์ชั้นต่อมาบางแห่งจะอธิบายว่า หมายถึงเทวดาทั่วไปบ้างก็มี, ตรีทศ ก็ว่า
เทียบ ไตรทิพ