คำศัพท์ :
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 31 [คลิก]
คำศัพท์ : ปริตต์, ปริตร

1. [ปะ-ริด] น้อย, เล็กน้อย, นิดหนอย, ต่ํ่าต้อย, ด้อย, คับแคบ, ไมสําคัญ (ตรงข้ามกับ มหา หรือมหันต) 2. [ปะ-ริด] สภาวะที่ด้อย หรือคับแคบ หมายถึงธรรมที่เปนกามาวจร, พึงทราบว่า ธรรมทั้งปวง หรือสิ่งทั้งหลาย ประดามีนั้นนัยหนึ่งประมวลจัดแยกได้เปน ๓ ประเภท ได้แก่ ปริตตะ (ธรรมที่ด้อยหรือคับแคบ คือเปนกามาวจร) มหคัคตะ หรือ มหรคต (ธรรมที่ถึงความยิ่งใหญ่ คือเปืนรูปาวจร หรือ อรูปาวจร) และ อัปปมาณะ (ธรรมที่ี่ประมาณมิได คือเปนโลกุตตระ); ดู กามาวจร 3.[ปะ-หริด] “เครื่องคุมครองปองกัน”บทสวดที่นับถือเปนพระพุทธมนต คือ บาลีภาษิตดั้งเดิมในพระไตรปฎก ซึ่งไดยกมาจัดไวเปนพวกหนึ่งในฐานะเปนคําขลังหรือคําศักดิ์สิทธิ์ ที่มีอานุภาพคุมครองปองกันชวยใหพนจากภยันตราย และเปนสิริมงคลทําใหเกษมสวัสดีมีความสุขความเจริญ (ในยุคหลังมีการเรียบเรียงปริตรเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากบาลีภาษิตในพระไตรปฎกบาง พึงทราบตามคําอธิบายตอไป และพึงแยกวาบท สวดที่มักสวดเพิ่มหรือพวงกับพระปริตรในพิธีหรือในโอกาสเดียวกัน มีอีกมากมิใชมาจากพระไตรปฎก แตเปน ของนิพนธขึ้นภายหลัง ไมใชพระปริตร แตเปนบทสวดประกอบโดยสวดนําบาง สวดตอทายบาง)

กลาวไดวา การสวดพระปริตรเปนการปฏิบัติสืบเนื่องจากความนิยมในสังคมซึ่งมีการสวดสาธยายรายมนต (มันตสัชฌายน, มันตปริชัปปน) ที่แพรหลายเปนหลักสําคัญอยางหนึ่งในศาสนาพราหมณ แตไดปรับแกจัดและจํากัดทั้งความหมาย เนื้อหา และการปฏิบัติใหเขากับคติแหงพระพุทธศาสนาอยางนอยเพื่อชวยใหชนจํานวนมากที่เคยยึดถือมาตามคติพราหมณและยังไมเขมแข็งมั่นคงในพุทธคติ หรืออยูใน บรรยากาศของคติพราหมณนั้น และยังอาจหวั่นไหวใหมีเครื่องมั่นใจและใหมีหลักเชื่อมตอที่จะชวยพาพัฒนากาวตอไป, ทั้งนี้ในฝายภิกษุ มีพุทธบัญญัติ (วินย.7/183-184/71) หามมิใหเรียนมิใหบอกติรัจฉานวิชา หากฝาฝนตองอาบัติทุกกฏ โดยมิไดแสดงขอยกเวนไว สวนในฝายภิกษุณี (วินย.3/322-327/176-178) มีพุทธบัญญัติหามมิใหเรียนมิใหบอก ติรัจฉานวิชา หากฝาฝน ตองอาบัติ ปาจิตตีย แตมีขอยกเวนวา เรียนหรือบอกปริตรเพื่อคุมครอง (แกตนเองหรือ แกผูอื่นก็ตาม) ไมตองอาบัติ, มีคํา อธิบายวา ติรัจฉานวิชา คือวิชาทํารายคนอื่นรวมทั้งมนตอาถรรพ (อาถรรพณมนต ตามคัมภีรอถรรพเวทของพราหมณ) เชน มนตในการฝงรูปฝงรอย มนต สะกดคนใหอยูใตอํานาจ มนตแผดเผาสรีรธาตุใหเขาผอมแหงมนตชักลาก เอาทรัพยของคนอื่นมา มนตทําใหมิตรผิดใจแตกกัน ฯลฯ มนตเหลานี้ภิกษุณี จะเรียนหรือสอนไมได เปนการผิดพุทธบัญญัติ แตเรียนหรือสอนปริตรเพื่อคุมครองตนเองหรือผูอื่นก็ตามไมผิด, นอกจากนั้นหลายครั้งพระพุทธเจาทรงแนะนําพระสาวกใหเจริญเมตตาตอสัตวทั้งหลาย เชนตองูบาง ใหทําสัจกิริยาคืออางสัจจะอางคุณธรรมบาง ใหระลึกถึงคุณและเคารพนบนอมพระรัตนตรัยบาง เปนกําลังที่คุมครองรักษาแลวพระดํารัสนั้นก็ไดรับความนับถือจัดเปนปริตรชื่อตางๆ, ที่กลาวนี้ พอใหเห็นความเปนมาของพระปริตร

ตอไปนี้ จะสรุปขอควรทราบเกี่ยวกับพระปริตรไวเปนความรูประกอบ
๑) โดยชื่อ: เรียกวา “ปริตร” ตามความหมายที่เปนเครื่องคุมครองปองกันอันชอบธรรม ซึ่งตางจากมนตที่ไดมีความหมายโนมไปในทางเปนอาถรรพณมนต ตามลัทธิของพราหมณ อยางที่เรียกในบัดนี้วาเปนไสยศาสตร ซึ่งมักใชทํารายผูอื่น และสนองความโลภเปนตน
๒) โดยเนื้อหา: ปริตรเปนเรื่องของคุณธรรมทั้งในเนื้อหาและการปฏิบัติคุณธรรมที่เปนพื้นทั่วไปคือเมตตา บางปริตรเปนคําแผเมตตาทั้งบท ( เชน กรณียเมตตปริตร และขันธปริตร) แม แตเมื่อจะเริ่มสวดพระปริตร ก็มีคําประพันธที่แตงขึ้นมาใหสวดสําหรับ ชุมนุมเทวดากอน ซึ่งบอกใหผูสวดตั้ง จิตแผเมตตาแตตน อยางที่เรียกวามี เมตตาเปนปุเรจาริก (และคําที่เชิญเทวดามาฟง ก็บอกวาเชิญมาฟงธรรม) คุณธรรมสําคัญอีกอยางหนึ่งที่เปนแกนของปริตรคือสัจจะ บางปริตรเปนคําตั้ง สัจกิริยาทั้งบท (เชน อังคุลิมาลปริตร และวัฏฏกปริตร) บางปริตรเปนคําระลึกคุณพระรัตนตรัย (รตนปริตร โมรปริตร ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร) บางปริตรเปนคําสอนหลักธรรมที่จะปฏิบัติใหชีวิตสังคมเจริญงอกงามและหลัก ธรรมที่เจริญจิตเจริญปญญา (มงคลสูตร โพชฌังคปริตร, โพชฌังคปริตรนั้นทานนําสาระจากพระสูตรเดิมมาเรียบเรียง และเติมคําอางสัจจะตอทายทุกทอน)
๓) โดยหลักการ: ปริตรเปนไปตามหลักพระพุทธศาสนาที่ถือธรรมเปนใหญสูงสุด ไมมีการรองขอหรืออางอํานาจของเทพเจา (เทพทั้งหลายแมแตที่นับถือวาสูงสุดก็ยังทํารายกัน ไมบริสุทธิ์แท และไมเปนมาตรฐานที่แนนอน ตองขึ้นตอธรรม มีธรรมเปนตัวตัดสินในที่สุด เชนวา กอนโนน พราหมณถือวาพระพรหมเปนใหญ สรางทุกสิ่งทุกอยาง แตตอมาลัทธินับถือพระศิวะเลาวา เดิมทีพระพรหมมี ๕ พักตร กระทั่งคราวหนึ่ง ถูกพระศิวะกริ้วและทําลายพักตรที่หาเสีย จึงเหลือสี่พักตร) ปริตรไมอิงและไมเอื้อตอกิเลสโลภะ โทสะ โมหะเลย เนน แตธรรม เฉพาะอยางยิ่งเมตตาและสัจจะ อยางที่กลาวแลว และอางพุทธคุณหรือ คุณพระรัตนตรัยทั้งหมดเปนอํานาจคุมครองรักษาอํานวยความเกษมสวัสดี ในหลายปริตรมีคําแทรกเสริมบอกใหเทวดามีเมตตาตอหมูมนุษย ทั้งเตือนเทวดาวามนุษยไดพากันบวงสรวงบูชา จึงขอใหทําหนาที่ดูแลรักษาเขาดวยดี
๔) โดยประโยชน: ความหมายและการใชประโยชนจากปริตรตางกันไปตามระดับการพัฒนาของบุคคล ตั้งแตชาวบานทั่วไป ที่มุงใหเปนกําลังอํานาจปกปกรักษาคุมครองปองกันจนถึงพระอรหันตซึ่งใชเจริญธรรมปติ แตที่ยืนเปนหลักคือ ชวยใหจิตของผูสวดและผูฟงเจริญกุศล เชน ศรัทธาปสาทะ ปติ ปราโมทยและความสุขตลอดจนตั้งมั่น เปนสมาธิรวมทั้งเตรียมจิตใหพรอมที่ จะกาวสูภูมิธรรมที่สูงขึ้นไป คือเปน กุศลภาวนา เปนจิตตภาวนา
๕) โดยที่มา: แหลงที่มาของพระปริตร ไดแกคําแนะนําสั่งสอนของพระพุทธเจา กลาวคือ พระสูตร พุทธานุญาต ชาดก เรื่องไหนตอนใดมีเนื้อความซึ่งไดความหมายตรงตามที่ตองการ ก็นํามาสวดและนิยมสืบกันมา เชน มหาโจรองคุลิมาล เมื่อกลับใจมาบวชแลว วันหนึ่งไปบิณฑบาต พบสตรีครรภแกคลอดยาก มีอาการทุลักทุเลลําบาก ทานสงสาร กลับจากบิณฑบาตแลวก็มาเฝาทูลความ แดพระผูมีพระภาคเจา พระองคจึงทรง แนะนําใหทานเขาไปหาสตรีนั้นและ กลาวคําเปนสัจกิริยาวา “ ดูกรนองหญิง ตั้งแตอาตมาไดเกิดแลวในอริยชาติ มิไดรูสึกเลยวาจะจงใจปลงสัตวเสียจากชีวิต ดวยสัจวาจานี้ขอความสวัสดีจงมี แกทานขอความสวัสดีจงมีแกครรภ ของทานเถิด” พระองคุลิมาลไดปฏิบัติ ตามสตรีนั้นก็คลอดบุตรไดงายโดย สวัสดี (ม.ม.13/531/485) คําบาลีที่กลาว สัจกิริยานี้ก็เปนที่นิยมนํามาใช โดยมีชื่อ วาอังคุลิมาลปริตร ถือวาเปนมหาปริตรทีเดียว, บางทีมีเหตุรายเกิดขึ้น เชน คราวหนึ่งมีภิกษุถูกงูกัดถึงมรณภาพ เมื่อทรงทราบ ไดตรัสอนุญาตใหภิกษุทั้งหลายแผเมตตาจิตไปยังพญางูสี่ ตระกูล ( วิรูปกข เอราบถ ฉัพยาบุตร กัณหาโคตมกะ) เพื่อคุมครองรักษาและปองกันตัว และไดตรัสคาถาแผเมตตาแกตระกูลพญางูทั้งสี่นั้น ตลอดจนแก สรรพสัตว ลงทายดวยคุณพระรัตนตรัย และนมัสการพระพุทธเจา ๗ พระองค (วินย.7/26/11; องฺ.จตุกฺก.21/67/94) เปนที่มา ของขันธปริตร (คาถาที่เปนปริตรนี้มาในขันธปริตตชาดกดวย, ขุ.ชา.27/255/74, หรืออยางพระพุทธเจาตรัสสอนธรรมโดย ทรงเลาเรื่องชาดกเปนตัวอยาง แลวชาดกบางเรื่องที่มีถอยคําซึ่งไดชวยใหบุคคลหรือสัตวในเรื่องรอดพนอันตราย ก็มาเปนปริตร ดังเชน “คาถานกคุม” ที่ลูกนกคุมกลาวเปนสัจกิริยาทําใหไฟปาไมลุกลามเขามาไหมรัง (ขุ.ชา.27/35/12) มีคาถาแตไมครบ, มาครบใน ขุ.จริยา.33/237/588 ก็มาเปนวัฏฏกปริตร, หรืออยางมงคลสูตร (ขุ.ขุ.25/5/3; ขุ.สุ.25/317/376) ที่วา พระพุทธเจา เมื่อเหลาเทวดาทูลขอใหตรัสแสดงยอดมงคล แทนที่จะตรัสถึงสิ่งที่พบเห็นไดยินดีรายวาเปนมงคลหรือไมเปนมงคลอยางที่คนยึดถือกันกลับ ทรงสอนหลักความประพฤติปฏิบัติในชีวิตและสังคม เชน การไมคบคนพาล การคบบัณฑิต การยกยองเชิดชูคนที่ ควรยกยองเชิดชู ฯลฯ จนถึงความมีจิตใจเกษมศานตเปนอิสระไมหวั่นไหวดวยโลกธรรม วาเปนอุดมมงคลมงคลสูตร นี้ก็เปนที่นิยมนับถือ นํามารวมไวในชุดพระปริตรเต็มทั้งพระสูตร

พระปริตรที่ชื่อวา อาฏานาฏิยปริตร จากอาฏานาฏิยสูตร (ที.ปา.11/207/208) นับวามีกําเนิดแปลกออกไป คือ มิใชเปนพุทธดํารัสที่ตรัสเอง แตมีเรื่องในพระสูตรนั้นวา ณ ยามดึก ราตรีหนึ่ง ทาว มหาราชสี่ (จาตุมหาราช หรือจตุโลกบาล) พรอมดวยบริวารจํานวนมาก ไดมาเฝาพระพุทธเจาที่เขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห ครั้นแลวทาวเวสสวัณ ผูครอง ทิศอุดร (ไทยมักเรียก เวสสุวัณ, มีอีกชื่อ หนึ่งวา กุเวร) ไดกราบทูล (ในนามของผู มาเฝาทั้งหมด) วา พวกยักษที่ไมเลื่อมใส พระผูมีพระภาคเจา ก็มี ที่เลื่อมใส ก็มีสวนมากที่ไมเลื่อมใสเพราะตนเองทํา ปาณาติบาต เปนตน จนถึงดื่มสุราเมรัย เมื่อพระผูมีพระภาคเจาทรงสอนใหงดเวน กรรมชั่วเหลานั้น จึงไมชอบใจ ทาวมหาราชทรงหวงใยวามีพระสาวกที่ไปอยูในปาดงเงียบเปลี่ยวหางไกลอันนากลัว จึงขอถวายคาถา “อาฏานาฏิยา รกฺขา” (อาฏานาฏิยรักขา เรียกงายๆ วาอาฏานาฏิยารักข โดยเรียกตามชื่อเทพนครอาฏานาฏา ที่ทาวมหาราชประชุมกัน ประพันธอาฏานาฏิยรักขานี้ขึ้น) โดยขอใหทรงรับไวเพื่อทําใหยักษพวกนั้นเลื่อมใสเปนเครื่องคุมครองรักษาภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ใหอยูผาสุก ปลอดจากการถูกเบียดเบียน แลวทาวเวสสวัณก็กลาวคําอารักขานั้น เริ่มตนดวยคํานมัสการพระพุทธเจา ๗ พระองค มีพระวิปสสี เปนตน ตอดวยเรื่องของทาวมหาราชสี่รายพระองคที่พรอมดวยโอรสและเหลาอมนุษยพากันนอมวันทาพระพุทธเจา, เมื่อจบแลว ทาวเวสสวัณ กราบทูลย้ำวาคาถาอาฏานาฏิยรักขานี้ เพื่อเปนเครื่องคุมครองรักษาภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ใหอยูผาสุก ปลอดจากการถูกเบียดเบียน เมื่อเรียน ไวแมนยําดีแลว หากอมนุษยเชนยักษ เปนตนตนใดมีใจประทุษรายมากล้ํา กราย อมนุษยตนนั้นก็จะถูกตอตานและถูกลงโทษโดยพวกอมนุษยทั้งหลาย หากตนใดไมเชื่อฟง ก็ถือวาเปนขบถตอ ทาวมหาราชสี่นั้น กลาวแลวก็พากัน กราบทูลลากลับไป ครั้นผานราตรีนั้นไป แลวพระพุทธเจาไดตรัสเลาเรื่องทั้งหมด แกภิกษุทั้งหลาย ตรัสวาอาฏานาฏิยรักขา นั้นกอปรดวยประโยชนในการคุมครอง รักษาดังกลาวแลว และทรงแนะนําให เรียนไว, คาถาอาฏานาฏิยรักขานี้เองได มาเปนอาฏานาฏิยปริตร และอาฏานาฏิยปริตรนี้นับวาเปนตัวอยางอันชัดเจนที่ แสดงถึงวิธีสอนที่นําประชาชนใหฝกศึกษาพัฒนาชีวิตขึ้นมาตามลําดับ จากจุดเชื่อมตอกับความเชื่อถือพื้นฐานของเขา เพื่อกาวเขามาสูคติแหงพระพุทธศาสนา คือในแงความเชื่ออํานาจศักดิ์สิทธิ์ ถือวาตองเปนอํานาจที่ทรงธรรมจึง จะศักดิ์สิทธิ์จริงจังยั่งยืน และชําระ อํานาจนั้นใหบริสุทธิ์เปนกุศลปราศจากการใชกิเลสเชนโลภะและโทสะใหอํานาจที่เปนกุศลชนะอํานาจอกุศล และที่ สําคัญยิ่งคือไมใหขัดหลักกรรม แตใหสนับสนุนความเพียรในการทํากุศลกรรม โดยมีความหมายในแงคุมครองปองกันใหปลอดโปรงปราศจากสิ่งขัดขวางกังวล ทั้งภายนอกและในใจ เพื่อใหพรอมหรือมั่นใจมีกําลังใจที่จะเพียรทํากิจที่มุงหมาย เชน ภิกษุก็จะเจริญสมณธรรมไดเต็มที่ (มิใชรออํานาจศักดิ์สิทธิ์มาบันดาลผลนั้นให)

เรื่องราวอันเปนที่มาของปริตรทั้งหลายตามที่เลาในพระไตรปฎก มีเพียงสั้นๆ ตรงๆ อยางที่กลาวแลวแตที่มาของบางปริตรปรากฏในอรรถกถาเปน เรื่องราวยืดยาวพิสดาร โดยเฉพาะรตนปริตร จากรตนสูตร (ขุ.ขุ.25/7/5; ขุ.สุ.25/314/367) ซึ่งอรรถกถาเลาวา คราวหนึ่ง ที่เมืองเวสาลี ไดเกิดทุพภิกขภัยใหญ ผู คนลมตาย ซากศพเกลื่อนเมือง พวก อมนุษยก็เขามาแถมอหิวาตกโรคซ้ําอีก ในที่สุดกษัตริยลิจฉวีตกลงไปอาราธนา พระพุทธเจาซึ่งเวลานั้นประทับที่เมืองราชคฤห ( ยังอยูในรัชกาลของพระเจา พิมพิสาร) ขอใหเสด็จมา พระพุทธองคประทับเรือเสด็จมาเมื่อถึงเขตแดนพอยางพระบาทลงทรงเหยียบฝงแมน้ําคงคา ฝนโบกขรพรรษก็ตกลงมาจนน้ําทวม พัดพาซากศพลอยลงแมน้ำคงคาไปหมด และเมื่อเสด็จถึงเมืองเวสาลี ทาวสักกะ และประดาเทพก็มาชุมนุมรับเสด็จเปนเหตุใหพวกอมนุษยหวาดกลัว พากันหนีไป ครั้งนั้นพระพุทธเจาไดตรัสรตนสูตร ใหพระอานนทเรียนและเดินทําปริตรไป ในระหวางกําแพงเมืองทั้ง ๓ ชั้น พระอานนทเรียนรตนสูตรนั้นแลวสวดเพื่อ เปนปริตรคือเปนเครื่องคุมครองปองกัน พรอมทั้งถือบาตรของพระพุทธเจา ใสน้ำเดินพรมไปทั่วทั้งเมือง เปนอันวา ทั้งภัยแลง ภัยอมนุษย และภัยจากโรค ก็สงบสิ้นไป พระพุทธเจาประทับที่เมือง เวสาลีครึ่งเดือนจึงเสด็จกลับ มีการชุมนุมครั้งใหญเพื่อสงเสด็จ เรียกวา “คงฺโคโรหณสมาคม” (เปนไทย=คงคาโรหณสมาคม, การชุมนุมในคราวเสด็จลงแมน้ําคงคาเพื่อเสด็จกลับสูเมืองราชคฤห; การชุมนุมใหญอยางนี้มีอีก ๒ ครั้ง คือ ยมกปาฏิหาริยสมาคม และเทโวโรหณสมาคม), พระสูตรนี้ แสดงคุณของพระรัตนตรัย จึงเรียกวา รตนสูตร (ในมิลินทปญหาบางฉบับเรียก วา สุวัตถิสูตร เพราะแตละคาถาลงทาย วา “ สุวตฺถิ โหตุ” – ดวยสัจจะนี้ ขอความสวัสดีจงมี), เรื่องที่อรรถกถาเลานี้ นาจะเปนที่มาของประเพณีการเอาน้ำใส บาตรทําน้ำมนต แลวพรมน้ำมนตเพื่อความสุขสวัสดี
๖) โดยความเปนมา: เดิมนั้น “ปริตต” มีความหมายวา “เครื่องคุมครองปองกัน” เชนกลาวขอความนั้นๆ เพื่อเปนปริตรหรือใหเปนปริตร ( เปนเครื่องคุมครองปองกัน) ยังไมเรียกขอความนั้นเองวา ปริตร จึงใชคําวา “ทําปริตต” (ปริตตกรณะ) เชนทําการแผเมตตา หรือทําการนอมรําลึกหรือนมัสการอยางนั้นๆ ใหเปนเครื่องคุมครองปองกัน ไมใชคําวา กลาวหรือสวดปริตต ตอมาจึงคอยๆ เรียกขอความที่สวดหรือบทสวดนั้นเองวาปริตร แลวปริตรก็มีความหมายวา “บทสวดเพื่อเปนเครื่องคุมครองปองกัน” ดังที่ในบัดนี้ ใชคําวา “กลาวปริตร” หรือ “สวดพระปริตร” (ปริตตภณนะ) เปนพื้น

ปริตรไดเปนคําเรียกบทสวด โดยมีรายชื่อปรากฏในคัมภีรชั้นหลังจากพระ ไตรปฎกเริ่มแตมิลินทปญหา ซึ่งถือกันวาเกิดขึ้นประมาณ พ.ศ. ๕๐๐ ในมิลินทปญหานั้น มีรายชื่อ ๕-๗ ปริตร (ฉบับหนึ่งที่เปนอักษรพมามี ๗ ปริตร คือ รตนสูตร เมตตสูตร ขันธปริตร โมรปริตร ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร องคุลิมาลปริตร, ฉบับอักษรไทยมี ๕ ปริตร คือ ขันธปริตร สุวัตถิปริตร [=รตนสูตร] โมรปริตร ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร), ตอมาในชั้นอรรถกถา ( ถึง พ.ศ. ๙๐๐ เศษ) พบรายชื่ออยางมาก ๘ ปริตร คือ อาฏานาฏิยปริตร อิสิคิลิปริตร ธชัคคปริตร โพชฌังคปริตร ขันธปริตร โมรปริตร เมตตปริตร รตนปริตร (องฺ.อ. ๒/๒๑๐; นิทฺ๑.อ.๓๓๖), ตอนี้ไปจะกลาวขอ สังเกตตามลําดับ ดังนี้
ก.ปริตรที่ยืนตัวอยูในทุกรายชื่อตั้งแต มิลินทปญหามาจนวิสุทธิมัคคกระทั่งถึง คัมภีรแมแตชั้นฎีกา มีเพียง ๕ คือ รตนปริตร ขันธปริตร ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร และโมรปริตร
ข. ตลอดยุคที่กลาวมา รายชื่อหลักขึ้นตนดวยรตนปริตร ซึ่งบางทีเรียกชื่อเดิมเปนรตนสูตร และในรายชื่อทุกบัญชี ไม มีมงคลสูตรเลย
ค. ไมชัดวามีมงคลสูตรเพิ่มเขามาในราย ชื่อปริตรเมื่อใด แตคงเพิ่มในยุคสมัยที่ไมนานนักนาสังเกตวาทานเพิ่มเขามาโดยจัดเปนปริตรแรกทีเดียวนําหนารตนปริตร อีกทั้งเปนบทเดียวที่คงเรียกชื่อ เปนสูตรคงที่ยืนตัว ไมเรียกชื่อวาปริตร ทั้งนี้พอเห็นเหตุผลไดชัดวา เนื้อความในมงคลสูตรไมมีลักษณะเปนปริตรโดยตรง คือมิใชมุงจะปองกันภัยใดๆ อยางปริตรอื่น แตเปนเรื่องของสิริมงคลคือ เปนไปเพื่อความสุขความเจริญงอกงาม กวางๆ ครอบคลุมทั่วไปหมด ถึงจะไมเปนปริตร ก็ดีมีคุณไมนอยกวาปริตร และควรเอามาสวดนํากอนดวยซ้ำ เพื่อใหเกิดสิริมงคลเปนพื้นฐานหรือเปนบรรยากาศไวกอนแลวจะแกหรือกัน อันตรายอยางไหนก็คอยวากันตอไป (และในแงเนื้อความมงคลสูตรก็ครอบคลุมความดีงามสุขสวัสดีทุกประการ โดยมีหลักธรรมที่เหมาะแกทุกบุคคลครบทุกขั้นตอนของชีวิต) อีกทั้งทานเอามาใชเต็มทั้งพระสูตรไมไดคัดตัดมา เพียงบางสวนจึงเปนอันไดเหตุผลที่นํา มาสวดเขาชุดปริตร และจัดเปนบทแรก โดยเรียกชื่อคงเดิมวามงคลสูตร, ใน คัมภีรขุททกปาฐะแหงพระไตรปฎก ทานเรียงลําดับมงคลสูตรและรตนสูตรไวถัดกัน โดยมีมงคลสูตรเปนสูตรแรก อรรถกถาอธิบายวาลําดับนี้เขากับเหตุผลวามงคลสูตรเปนอัตตรักษ ( รักษาตัว) รตนสูตรเปนปรารักษ (รักษาผูอื่น)
ง. สวนปริตรอื่นนั้นชัดอยูแลววาปริตร ใดเดิมเปนพระสูตร และนํามาใชสวด เต็มทั้งสูตร ปริตรนั้นจะเรียกชื่อเปนสูตร หรือเรียกเปนปริตร ก็ได คือ รตนสูตร/ปริตร กรณียเมตตสูตร/ปริตร (บางทีเรียกสั้นๆ วา เมตตสูตร/ปริตร) และธชัคคสูตร/ปริตร, ปริตรนอกนี้ มิใชมาจากพระสูตร ( เชน มาจากชาดก) หรือถามาจากพระสูตร ก็ไมนํามาเต็ม ทั้งสูตร แตคัดตัดมาเฉพาะสวนที่เกี่ยวของ จึงเรียกวาปริตรอยางเดียว
จ. อาฏานาฏิยปริตร มาจากอาฏานาฏิยสูตร แตนํามาใชเฉพาะคาถา “อาฏานาฏิยา รกฺขา” ที่ทาวมหาราชสี่ถวายไมนํามาเต็มทั้งสูตร ( คือนํามาเพียงเอกเทศของ พระสูตร) จึงเรียกวาปริตรเทานั้น ไมเรียกวาสูตร ในแงนี้ อาฏานาฏิยปริตรก็เหมือนกับปริตรอื่นๆ ที่เรียกวาปริตรอยางเดียว แตแงที่แปลกกวานั้นก็คือนํามาเฉพาะคาถานมัสการพระพุทธเจา เจ็ดพระองค ๖ คาถา สวนคาถาตอจาก นั้นซึ่งวาดวยเรื่องของทาวมหาราชสี่ทานตัดออก แลวประพันธคาถาใหมซึ่งสวนใหญพรรณนาพระคุณของพระพุทธเจามากมายหลายพระองค นบ วันทาพระพุทธเจาเหลานั้น ขอใหพระคุณของพระองคปกปกรักษา และขอใหทาวมหาราชทั้งสี่มารักษาดวย, การที่พระโบราณาจารยกระทําอยางนี้ คงเปนเพราะทานเห็นวาคาถาอาฏานาฏิยรักขา มิใชเปนพระพุทธวจนะ แตเปนคําของเทพเทานั้น เมื่อจะนํามาใชในกิจนอก พระไตรปฎก ทานจึงแตงเพิ่มและเติมแทนได โดยเฉพาะคาถาที่ทานแตงนั้น ก็เปนการเสริมเจตนารมณของทาว มหาราชทั้งสี่ที่แสดงออกใน ๖ คาถาแรก ใหปริตรหนักแนนมีกําลังมากยิ่งขึ้น, โพชฌังคปริตรมีลักษณะพิเศษตางออกไปอีก เนื่องจากวา เรื่องที่พระพุทธองคเอง พระมหากัสสปะ และพระมหาโมคคัลลานะ สดับคําแสดงโพชฌงค แลวหายจากอาพาธนั้น กระจายอยูในสามพระสูตรตางหากกัน (สํ.ม.19/415-428/113-117) พระโบราณาจารยจึงใชวิธี ประพันธคาถาประมวลเรื่องสรุปความ รวมไวเปนปริตรเดียวกัน โพชฌังคปริตร จึงมิใชเปนบาลีภาษิตจากพระไตรปฎกโดยตรง, เรื่องของอาฏานาฏิยปริตร (รวมทั้งโพชฌังคปริตร) นี้นาจะเปนตัวอยางใหในยุคหลังมีการแตงคาถาใหมขึ้น เปนปริตรชื่อใหมๆ โดยนําเอาพุทธพจน หรือขอความในพระไตรปฎกมาตั้งเปนแกน ก็มีไมมีขอความจากพระไตรปฎก โดยตรงเลยก็มีไดแก อภยปริตร และ ชยปริตร ในประมวลบทสวดที่เรียกวา “สิบสองตํานาน”
๗) โดยการจัดเปนแบบแผน: ตอมา ในบานเมืองที่พระพุทธศาสนาเจริญ แพรหลาย มีคนทุกหมูเหลานับถือแลว ความนิยมสวดพระปริตรก็แพรหลายมากขึ้นๆ จนเกิดเปนประเพณีขึ้นโดยมี พิธีกรรมเกี่ยวกับการสวดพระปริตรนั้น และประเพณีนั้นก็พัฒนาตอๆ มา เชน มีการสวดปริตรนี้ในโอกาสนั้น สวดปริตรนั้นในโอกาสนี้ มีการสวดปริตร เปนชุดในงานสําคัญ มีการแยกวาพึงสวดชุดใดในงานไหนระดับใด ตลอดจนจัดลําดับในชุดพรอมดวยบทสวด ประกอบตางๆ เปนตน, ในคัมภีรมิลินทปญหา ซึ่งเลาเรื่องราวเมื่อใกล พ.ศ.๕๐๐ แมจะมิไดกลาวถึงพิธีสวดพระปริตรโดยตรง แตปญหาหนึ่งที่พญามิลินทตรัสถาม พระนาคเสนวา ถาปริตรทําใหคนพนจาก บวงมัจจุราชได จะไมขัดกันหรือกับคํา สอนที่วาถึงจะเหาะเหินไปในฟากฟาถึงจะซอนตัวลึกถึงกลางมหาสมุทร หรือจะหนีไปที่ไหน ก็หาพนจากบวงมัจจุราชไปไดไม และระบุชื่อปริตรไวดวยหลายบท (ฉบับอักษรพมาระบุไว ๗, ฉบับอักษร ไทยระบุไว ๕ ดังกลาวขางตน) นี้แสดง วาการสวดพระปริตรคงจะเปนที่นิยม ทั่วไปแลวในชมพูทวีป รวมทั้งแควน โยนก (โยนกเวลานั้นขยายกวางตั้งแต แถบเหนือของอัฟกานิสถานและปากีสถาน มาจนถึงตะวันตกเฉียงเหนือของ อินเดียปจจุบัน) ตอมา ในลังกาทวีป มีเรื่องราวเปนหลักฐานชัดเจนตามคัมภีรมหาวงส (พงศาวดารลังกายุคตน) วาในรัชกาลพระเจาอุปติสสะ ที่ ๑ (พ.ศ. ๙๐๕–๙๕๒) เกิดทุพภิกขภัย พระองคไดโปรดใหนิมนตพระสงฆประชุมใหญ สวดพระปริตร แลวฝนตกหายแลงในสมัยหลังตอมา ก็มีเหตุการณเชนนี้อีก, พิธีสวดอยางนี้ นอกจากเปนงานใหญ แลวก็กลายเปนประเพณีการสวดบาง อยางก็ทําเปนประจําทุกป อยางนอยก็ทํานองเปนการบํารุงขวัญในบางคัมภีร อยางวินยสังคหะถึงกับอธิบายวิธีจัด เตรียมการในการสวดพระปริตรในบางโอกาส เชน เมื่อไปสวดใหคนเจ็บไขฟงพึงใหเขารับสิกขาบทกอน (เราเรียกวาให ศีล) แลวกลาวธรรมแกเขาพึงทําปริตรใหแกผูที่ตั้งอยูในศีล ถาคนถูกผีเขา ไมควรสวดอาฏานาฏิยปริตรกอน แตพึงสวดเมตตสูตร ธชัคคสูตร และรตนสูตร ตลอดสัปดาห ถาผีไมยอมออก จึงควรสวดอาฏานาฏิยปริตร ดังนี้เปนตน

ปริตรที่จัดเปนหมวดหรือเปนชุด ตอมาก็มีการแยกเปนชุดเล็กและชุดใหญ ดังที่เรียกวา “เจ็ดตํานาน” (ใชคํา บาลีเปน สัตตปริตต) และ “ สิบสอง ตํานาน” (ทวาทสปริตต) แตมีขอนาสงสัยวา “ ตํานาน” ในที่นี้หมายถึงเรื่องราวเลาขานสืบกันมาใชแนหรือไม พอดีวา “ปริตต” คือเครื่องคุมครองปองกันนี้ มีคําบาลีที่เปนไวพจนวา รักขา ตาณ เลณ ทีปะ นาถ สรณะ เปนตน โดยเฉพาะ “ตาณ” นั้น บางทีใชอธิบายหรือใชแทน “ปริตฺต” อยางชัดเจน (เชน ในโยชนา แหงอรรถกถาวินัยวา ยกฺขปริตฺตนฺติ ยกฺเขหิ สมนฺตโต ตาณํ) จึงนาสันนิษฐาน วาอาจเปน “ ตํานาณ” ที่แผลงจาก “ตาณ” นี้เอง (คือเปน เจ็ดตํานาณ และ สิบสองตํานาณ) และเมื่อใชเปนแบบ แผนในพระราชพิธี ก็ไดมีชื่อเปนคํา ศัพทเฉพาะขึ้นวา “ราชปริตร” เรียก สัตตปริตตวา จุลราชปริตร (ปริตรหลวง ชุดเล็ก) และเรียกทวาทสปริตตวา มหาราชปริตร (ปริตรหลวงชุดใหญ)

เจ็ดตํานาน
๑. มงคลสูตร
๒. รตนปริตร (มักเรียก รตนสูตร)
๓. เมตตปริตร (มักเรียก กรณียเมตตสูตร)
๔/๐. ขันธปริตร
๕/๐. โมรปริตร
๖/๐. ธชัคคปริตร (มักเรียก ธชัคคสูตร)
๗/๐. อาฏานาฏิยปริตร
๐/๗. โพชฌังคปริตร มีอังคุลิมาลปริตรนํา (ลําดับทายนี้ อาจเขาแทนลําดับใดหนึ่งใน ๔-๗)

สิบสองตํานาน
๑. มงคลสูตร
๒. รตนปริตร (มักเรียก รตนสูตร)
๓. เมตตปริตร (มักเรียก กรณียเมตตสูตร)
๔. ขันธปริตร มี ฉัททันตปริตรตาม
๕. โมรปริตร
๖. วัฏฏกปริตร
๗. ธชัคคปริตร (มักเรียก ธชัคคสูตร)
๘. อาฏานาฏิยปริตร
๙. อังคุลิมาลปริตร
๑๐. โพชฌังคปริตร
๑๑. อภยปริตร (มีขึ้นในยุคหลัง)
๑๒. ชยปริตร (มีขึ้นในยุคหลัง)

(พึงทราบวา องฺคุลิมาลปริตฺต และ โพชฺฌงฺคปริตฺต นั้น เรียกเปนภาษาไทย วา อังคุลิมาลปริตร หรือองคุลิมาลปริตร และโพชฌังคปริตร หรือโพชฌงคปริตร ก็ได ยังไมมีกําหนดเปนยุติ)
๘) โดยเครื่องประกอบเสริม: อยางที่ไดกลาววา นอกจากตัวปริตรเองแลวมีบทสวดเสริมประกอบที่แตงหรือจัดเติม เพิ่มขึ้นมาตามกาลเวลาอีกมาก ใชสวดนํากอนก็มี สวดแทรกก็มี สวดตอทายก็มี เชน กอนเริ่มสวด ก็มีการชุมนุมเทวดา คือกลาวคําเชิญชวนเทวดามาฟง เรียกวามาฟงธรรมหรือมาฟงพุทธวจนะ และเมื่อเริ่มสวด กอนจะถึงตัวพระปริตร ก็สวดตนตํานาน ซึ่งมีประมาณ ๔ บท แลวจึงสวดตัวตํานานคือพระปริตรไป ตามลําดับ ครั้นจบปริตรทั้งหมดแลว ก็สวดทายตํานาน ทํานองบทแถมอีก จํานวนหนึ่ง (อาจจะถึง ๑๐ บท) เสร็จแลวจึงเปนอันจบการสวด

ยิ่งกวานั้น ถามีเวลาที่จะสวดอยางเต็มพิธีจริงๆ นอกจากชุมนุมเทวดา (เรียกวาขัดนํา) ตอนจะเริ่มสวดแลว ในชวงที่สวดตัวตํานาน ก็มีการขัดตํานาน แทรกคั่นไปตลอดดวย คือ ระหวางที่สวดปริตรหนึ่งจบแลว กอนจะสวดปริตรลําดับตอไป ก็หยุดใหหัวหนา (บัดนี้นิยมใหรูปที่ ๓ ผูขัดนํา คือรูปที่ชุมนุมเทวดา) ขัดตํานาน คือสวดบท แนะนําใหรูจักปริตรบทที่จะสวดตอไปนั้น (บทขัดของปริตรใด ก็เรียกตามชื่อ ของปริตรนั้น เชน บทขัดมงคลสูตร บทขัดรตนปริตร ฯลฯ ซึ่งบอกใหรูวา ปริตรนั้นเกิดขึ้นมาอยางไร มีคุณหรือ อานิสงสในการสวดอยางไร และเชิญชวนใหสวด) ขัดคั่นอยางนี้ไปจนจบปริตรทั้งหมด, อยางไรก็ตาม ทุกวันนี้ แมแตในพิธีใหญๆ ก็นอยนักที่จะมีการขัดตํานานในการสวดเจ็ดตํานานหรือสิบสองตํานาน เพราะจะทําใหการสวดยาวนานมาก, แตที่ยังนิยมปฏิบัติกันอยูก็ คือ ในกรณีที่มีการสวดบทพิเศษเพิ่มเขามา เชน สวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรในงานทําบุญอายุครั้งสําคัญ เมื่อขัดนําตํานาน คือชุมนุมเทวดาแลวก็ตอดวยบทขัดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรติดไปเลย จากนั้นสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร และเจ็ดตํานานยอไปจนจบ โดยไมมีการขัดตํานานใดๆ อีก, ที่กลาวมานี้ เปนเรื่องของแบบแผนในพิธีที่เพิ่มขยายขึ้นมาเปนเรื่องของประเพณีและเนื่องดวย สังคม แตผูปฏิบัติในทางสวนตัว เมื่อมุงสาระพึงกําหนดชัดอยูที่ตัวพระปริตร

นอกจากแบบแผนพิธีในการสวดแลว เครื่องประกอบสําคัญที่รูกันดีก็คือ น้ำมนต และสายสิญจน ซึ่งมีมาแตโบราณ แตในคัมภีรภาษาบาลี ทานเรียก วา ปริตโตทก (น้ำปริตร) และปริตตสูตร (สายหรือดายปริตร) ตามลําดับ

รวมแลว ในเรื่องปริตรนี้ ขอสําคัญอยูที่ตองมีจิตใจเปนกุศลนอกจากมี เมตตานําหนาและมั่นในสัจจะบนฐานแหงธรรมแลว ก็พึงรูเขาใจสาระของปริตรนั้นๆ โดยมีกัมมัสสกตาปญญาอันมองเห็นความมีกรรมเปนของตน ซึ่งผลที่ประสงคจะสําเร็จดวยความพากเพียร ในการกระทําของตน เมื่อมีจิตใจโลงเบา สดชื่นผองใสดวยมั่นใจในคุณพระปริตร ที่คุมครองปองกันภัยอันตรายใหแลวก็จะไดมีสติมั่นมีสมาธิแนวมุงหนาทําการ นั้นๆ ใหกาวตอไปดวยความเขมแข็งมีกําลังหนักแนนและแจมใสชัดเจนจนถึง ความสําเร็จ, สําหรับพระภิกษุ ตองตั้งใจปฏิบัติในเรื่องปริตรนี้ตอคฤหัสถดวยจิต เมตตากรุณา พรอมไปกับความสังวร ระวัง มิใหผิดพลาดจากพระวินัย ในแง ดิรัจฉานวิชา และเวชกรรม เปนตน
ดู ภาณยักษ, ภาณวาร