คำศัพท์ :
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ 34 [คลิก]
คำศัพท์ : พรหมวิหาร ๔

พรหมวิหาร 4 (ธรรมเครื่องอยูอยางประเสริฐ, ธรรมประจําใจอันประเสริฐ, หลัก ความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์, ธรรมที่ตองมีไวเปนหลักใจและกํากับความประพฤติ จึงจะชื่อ วาดําเนินชีวิตหมดจด และปฏิบัติตนตอมนุษยสัตวทั้งหลายโดยชอบ — Brahmavihàra: holy abidings; sublime states of mind)
1.เมตตา (ความรัก ปรารถนาดีอยากใหเขามีความสุข มีจิตอันแผไมตรีและคิดทําประโยชนแก มนุษยสัตวทั่วหนา — Mettà: loving-kindness; friendliness; goodwill)
2.กรุณา (ความสงสาร คิดชวยใหพนทุกข ใฝใจในอันจะปลดเปลื้องบําบัดความทุกขยากเดือด รอนของปวงสัตว — Karuõà: compassion)
3.มุทิตา (ความยินดี ในเมื่อผูอื่นอยูดีมีสุข มีจิตผองใสบันเทิง กอปรดวยอาการแชมชื่นเบิก บานอยูเสมอ ตอสัตวทั้งหลายผูดํารงในปกติสุข พลอยยินดีดวยเมื่อเขาไดดีมีสุข เจริญงอกงาม ยิ่งขึ้นไป — Mudità: sympathetic joy; altruistic joy)
4.อุเบกขา (ความวางใจเปนกลาง อันจะใหดํารงอยูในธรรมตามที่พิจารณาเห็นดวยปญญา คือ มีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชู ไมเอนเอียงดวยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตวทั้งหลาย กระทําแลว อันควรไดรับผลดีหรือชั่ว สมควรแกเหตุอันตนประกอบ พรอมที่จะวินิจฉัยและ ปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรูจักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไมมีกิจที่ควรทํา เพราะเขารับผิดชอบ ตนไดดีแลว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรไดรับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน — Upekkhà: equanimity; neutrality; poise)

ผูดํารงในพรหมวิหาร ยอมชวยเหลือมนุษยสัตวทั้งหลายดวยเมตตากรุณา และยอมรักษา ธรรมไวไดดวยอุเบกขา ดังนั้น แมจะมีกรุณาที่จะชวยเหลือปวงสัตวแตก็ตองมีอุเบกขาดวยที่จะมิ ใหเสียธรรม

พรหมวิหารนี้ บางทีแปลวา ธรรมเครื่องอยูของพรหม, ธรรมเครื่องอยูอยางพรหม, ธรรม ประจําใจที่ทําใหเปนพรหมหรือใหเสมอดวยพรหม, หรือธรรมเครื่องอยูของทานผูมีคุณยิ่งใหญ — (abidings of the Great Ones)

พรหมวิหาร 4 เรียกอีกอยางวา อัปปมัญญา 4 (Appama¤¤à: unbounded states of mind; illimitables) เพราะแผสม่ําเสมอโดยทั่วไปในมนุษยสัตวทั้งหลาย ไมมีประมาณ ไม จํากัดขอบเขต

พรหมวิหารมีในผูใด ยอมทําใหผูนั้นประพฤติปฏิบัติเกื้อกูลแกผูอื่น ดวยสังคหวัตถุเปนตน.

อนึ่ง ในการที่จะเขาใจและปฏิบัติพรหมวิหาร 4 ใหถูกตอง พึงทราบรายละเอียดบางอยาง โดยเฉพาะสมบัติ และวิบัติ ของธรรม 4 ประการนั้น ดังนี้
ก. ความหมายโดยวิเคราะห์ศัพท
1.เมตตา = (มีน้ําใจ)เยื่อใยใฝประโยชนสุขแกคนสัตวทั้งหลาย หรือน้ําใจปรารถนาประโยชนสุขที่ เปนไปตอมิตร
2. กรุณา = ทําความสะเทือนใจแกสาธุชน เมื่อคนอื่นประสบทุกข หรือถายถอนทําทุกขของผูอื่น ใหหมดไป หรือแผใจไปรับรูตอคนสัตวทั้งหลายที่ประสบทุกข
3.มุทิตา = โมทนายินดีตอผูประกอบดวยสมบัติหรือผลดีนั้นๆ
4.อุเบกขา = คอยมองดูอยู โดยละความขวนขวายวาสัตวทั้งหลายจงอยาผูกเวรกัน เปนตน และโดยเขาถึงความเปนกลาง
ข.ลักษณะหน้าที่หรือกิจ (รส) ผลปรากฏ (ปัจจุปัฏฐาน ) และปทัสถาน (เหตุใกล)
1.เมตตา = (ในสถานการณที่คนอื่นอยูเปนปกติ)
ลักษณะ = เปนไปโดยอาการเกื้อกูลแกคนสัตวทั้งหลาย
หนาที่ = นอมนําประโยชนเขาไปใหแกเขา
ผลปรากฏ = กําจัดความอาฆาตแคนเคืองใหปราศไป
ปทัสถาน = เห็นภาวะที่นาเจริญใจของคนสัตวทั้งหลาย
2.กรุณา = (ในสถานการณที่คนอื่นตกทุกขเดือดรอน)
ลักษณะ = เปนไปโดยอาการปลดเปลื้องทุกขแกคนสัตวทั้งหลาย
หนาที่ = ไมนิ่งดูดาย/ทนนิ่งอยูไมไดตอทุกขของคนสัตวทั้งหลาย
ผลปรากฏ = ไมเบียดเบียน/อวิหิงสา
ปทัสถาน = เห็นภาวะไรที่พึ่ง/สภาพนาอนาถของคนสัตวทั้งหลายที่ถูกทุกขครอบงํา
3.มุทิตา = (ในสถานการณที่คนอื่นมีสุขสําเร็จหรือทําอะไรกาวไปดวยดี)
ลักษณะ = พลอยยินดี/ยินดีดวย
หนาที่ = ไมริษยา/เปนปฏิปกษตอความริษยา
ผลปรากฏ = ขจัดความริษยา ความไมยินดีหรือความทนไมไดตอความสุขสําเร็จของผูอื่น
ปทัสถาน = เห็นสมบัติ/ความสําเร็จของคนสัตวทั้งหลาย
4.อุเบกขา = (ในสถานการณรักษาธรรมตามความรับผิดชอบตอกรรมที่เขาทํา)
ลักษณะ = เปนไปโดยอาการเปนกลางตอคนสัตวทั้งหลาย
หนาที่ = มองเห็นความเสมอภาคกันในสัตวทั้งหลาย
ผลปรากฏ = ระงับความขัดเคืองเสียใจและความคลอยตามดีใจ
ปทัสถาน = มองเห็นภาวะที่ทุกคนเปนเจาของกรรมของตน วาสัตวทั้งหลายจักไดสุข พนทุกข ไมเสื่อมจากสมบัติที่ไดที่ถึง ตามใจชอบไดอยางไร
ค. สมบัติ (ความสมบูรณ หรือความสัมฤทธิ์ผล) และวิบัติ (ความล้มเหลว หรือการปฏิบัติผิด พลาด ไม่สําเร็จผล)
1. เมตตา: สมบัติ = สงบหายไรความแคนเคืองไมพอใจ วิบัติ = เกิดเสนหา
2.กรุณา: สมบัติ = สงบหายไรวิหิงสา วิบัติ = เกิดความโศกเศรา
3.มุทิตา: สมบั ติ = สงบหายไรความริษยา วิบัติ = เกิดความสนุกสนาน
4. อุเบกขา: สมบั ติ = สงบหายไมมีความยินดียินราย วิบัติ = เกิดความเฉยดวยไมรู (เฉยโง เฉยเมย เฉยเมิน)
ง. ขาศึกคืออกุศลซึ่งเปนศัตรูคูปรับที่จะทําลายหรือทําธรรมนั้นๆ ใหเสียไป
1. เมตตา: ขาศึกใกล = ราคะ ขาศึกไกล = พยาบาท คือความขัดเคืองไมพอใจ
2. กรุณา: ขาศึกใกล = โทมนัส คือความโศกเศราเสียใจ ขาศึกไกล = วิหิงสา
3.มุทิตา: ขาศึกใกล  = โสมนัส (เชนดีใจวาตนจะพลอยไดรับผลประโยชน) ขาศึกไกล = อรติ คือความไมยินดี ไมใยดี ริษยา
4.อุเบกขา: ขาศึกใกล = อัญญาณุเบกขา (เฉยไมรูเรื่อง เฉยโง เฉยเมย) ขาศึกไกล = ราคะ (ความใคร) และปฏิฆะ (ความเคือง) หรือชอบใจและขัดใจ
จ. ตัวอย่างมาตรฐานที่แสดงความหมายของพรหมวิหารไดชัดซึ่งคัมภีรทั้งหลายมักยกขึ้นอ้าง
1. เมื่อลูกยังเล็กเปนเด็กเยาววัย
แม – เมตตา รักใครเอาใจใส ถนอมเลี้ยงใหเจริญเติบโต 2.เมื่อลูกเจ็บไขเกิดมีทุกขภัย
แม – กรุณา หวงใยปกปกรักษา หาทางบําบัดแกไข 3.เมื่อลูกเจริญวัยเปนหนุมสาวสวยสงา
แม – มุทิตา พลอยปลาบปลื้มใจ หวังใหลูกงามสดใสอยูนานเทานาน 4.เมื่อลูกรับผิดชอบกิจหนาที่ของตนขวนขวายอยูดวยดี
แม – อุเบกขา มีใจนิ่งสงบเปนกลาง วางเฉยคอยดู

พึงทราบดวยวา ฉันทะ คือ กัตตุกัมยตาฉันทะ (ความอยากจะทําใหดี หรือความตองการที่ จะทําใหคนสัตวทั้งหลายดีงามสมบูรณปราศจากโทษขอบกพรอง เชน อยากใหเขาประสบ ประโยชนสุข พนจากทุกขเปนตน) เปนจุดตั้งตน (อาทิ) ของพรหมวิหารทั้ง 4 นี้ การขมระงับ กิเลส (เชนนิวรณ) ได เปนทามกลาง สมาธิถึงขั้นอัปปนา (คือ ภาวะจิตที่มั่นคงเรียบรื่นสงบสนิท ดีที่สุด) เปนที่จบ ของพรหมวิหารทั้ง 4 นั้น