คำศัพท์ :
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 31 [คลิก]
คำศัพท์ : กลาป

[กะ-หลาบ] ฟ่อน, มัด, กำ, แล่ง, กลุ่ม, หมวด, หน่วยรวม 1. ในการเจริญวิปัสสนา การพิจารณาโดยกลาป คือ พิจารณาธรรมอย่างรวมๆ โดยรวมเป็นหมวด หรือรวบทั้งกลุ่ม เช่นว่า รูปธรรมทั้งปวง ไม่เที่ยง ฌานธรรมเหล่านี้ ไม่มีแล้วก็มีขึ้น มีแล้ว ก็ไม่มี ฯลฯ (มีคำเรียกหลายอย่าง เช่น กลาปวิปัสสนา, กลาปสัมมสนะ, นยวิปัสสนา, สมุทายมนสิการ) ซึ่งง่ายกว่าการพิจารณาโดยองค์ หรือโดยแยกรายข้อย่อย เช่น พิจารณาองค์ฌานตามลำดับข้อ หรือเป็นรายข้อ (เรียกว่า อนุปทธรรมวิปัสสนา, อังคโต-สัมมสนะ) 2. (คำเรียกเต็มว่า "รูปกลาป"), หน่วยรวมรูปธรรมที่เล็กที่สุด, หน่วยรวมเล็กที่สุด ซึ่งมีองค์ประกอบที่จำเพาะแน่นอนมารวมกันขึ้นอันเป็นส่วนย่อยของรูปธรรมประเภทนั้นๆ โดยที่องค์ประกอบทั้งหมดมี "สหวุตติ" คือมีความเป็นไปร่วมกัน ทั้งเกิดขึ้นด้วยกันพร้อมเป็นอันเดียว (เอกุปปาทะ) ทั้งดับด้วยกันพร้อมเป็นอันเดียว (เอกนิโรธะ) และมีมหาภูตรูปเป็นที่อาศัยร่วมกันเป็นอันเดียว (เอกนิสสยะ); ตามหลักทางอภิธรรม หน่วยรวมรูปธรรมเล็กที่สุด ที่เป็นหน่วยย่อยพื้นฐานของรูปธรรมทั้งปวง ได้แก่ สุทธัฏฐกกลาป (หน่วยรวมหมวด ๘ ล้วน) คือกลาปซึ่งประกอบด้วยอวินิพโภครูป ๘ (รูปธรรมแปดอย่างที่มีอยู่ด้วยกันเป็นประจำเสมอไป ไม่สามารถแยกพรากออกจากกันได้) อันได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย วัณณะ คันธะ รสะ โอชา

กลาป คือ หน่วยรวมย่อยของรูปธรรมทั้งหลาย มีอวินิพโภครูป ๘ นั้นเป็นแกนยืนพื้น ถ้าไม่มีองค์ประกอบอื่นร่วม ก็เป็นหน่วยรวมหมวด ๘ ล้วน เรียกว่า สุทธัฏฐกกลาป (สุทธ=ล้วน + อัฏฐก=หมวด ๘ + กลาป=หน่วยรวม) ดังกล่าวแล้ว แต่ถ้ามีองค์ประกอบอื่นเข้าร่วมเพิ่มขึ้น ก็เป็นกลาปต่างแบบออกไป โดยที่กลาปแต่ละแบบนั้นมีจำนวนองค์ประกอบร่วมอย่างเดียวกันเท่ากันตายตัว ถ้ามีองค์ประกอบ ๙ ก็เป็น นวก=หมวด ๙, ถ้ามีองค์ประกอบ ๑๐ ก็เป็นทสก =หมวด ๑๐, ถ้ามีองค์ประกอบ ๑๑ ก็เป็นเอกาสก=หมวด ๑๑, ถ้ามีองค์ประกอบ ๑๒ ก็เป็นทวาทสก=หมวด ๑๒, ถ้ามีองค์ประกอบ ๑๓ ก็เป็นเตรสก=หมวด ๑๓

กลาปแยกเป็น ๔ ประเภทตามสมุฏฐาน คือ ๑. กัมมชกลาป (กลาปที่เกิดแต่กรรม คือมีกรรมเป็นสมุฏฐาน) มี ๙ แบบ ได้แก่ จักขุทสกกลาป [๘ + ชีวิตรูป + จักขุปสาทรูป], โสตทสก~ [๘ + ชีวิตรูป + โสตปสาทรูป], ฆานทสก~ [๘ + ชีวิตรูป + ฆานปลาทรูป], ชิวหาทสก~ [๘ + ชีวิตรูป + ชิวหาปลาทรูป], กายทสก~ [๘ + ชีวิตรูป + กายปสาทรูป], อิตถีภาวทสก~ [๘ + ชีวิตรูป + อิตถีภาวรูป], ปุริสภาวทสก~ [๘ + ชีวิตรูป + ปุริสภาวรูป], วัตถุทสก~ [๘ + ชีวิตรูป + หทยรูป], ชีวิตนวก~ [๘ + ชีวิตรูป] ๒. จิตตชกลาป (กลาปที่เกิดแต่จิต) มี ๘ แบบ ได้แก่ สุทธัฏฐกกลาป [๘], สัททนวก~ [๘ + สัททรูป], กายวิญญัตตินวก~ [๘ + กายวิญญัตติรูป], วจีวิญญัตติสัทททสก~ [๘ + วจีวิญญัตติรูป + สัททรูป], ลหุตาทิเอกาทสก~ [๘ + วิการรูป ๓], สัททลหุตาทิทวาทสก~ [๘ + สัททรูป + วิการรูป ๓], กายวิญญัตติลหุตาทิทวาทสก~ [๘ + กายวิญญัตติรูป + วิการรูป ๓], วจีวิญญัตติสัททลหุตาทิเตรสก~ [๘ + วจีวิญญัตติรูป + สัททรูป + วิการรูป ๓], ๓. อุตุชกลาป (กลาปที่เกิดแต่อุตุ) มี ๔ แบบ ได้แก่ สุทธัฏฐกกลาป [๘], สัททนวก~ [๘+สัททรูป], ลหุตาทิเอกาทสก~ [๘ + วิการรูป ๓], สัททลลหุตาทิทวาทสก~ [๘ + สัททรูป + วิการรูป ๓], ๔. อาหารชกลาป (กลาปที่เกิดแต่อาหาร) มี ๒ แบบ ได้แก่ สุทธัฏฐกกลาป [๘], สัททนวก~ [๘ + สัททรูป], ลหุตาทิเอกาทสก~ [๘ + วิการรูป ๓]
ดู มหาภูตรูป, อุปาทายรูป, อวินิพโภครูป