คำศัพท์ :
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 31 [คลิก]
คำศัพท์ : อุปัฏฐานศาลา

หอฉัน, หอประชุม, อาคารสำคัญในวัด ที่กล่าวถึงบ่อยในพระไตรปิฎก โดยพื้นเดิม เป็นศาลาโรงฉันหรือหอฉัน (โภชนศาลา) และขยายมาใช้เป็นศาลาโรงประชุมหรือหอประชุม (สันนิบาตศาลา) ซึ่งภิกษุทั้งหลายมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังพระองค์แสดงธรรมและถกเถียงสนทนาธรรมกัน ตลอดจนวินิจฉัยข้อวินัยต่างๆ เป็นส่วนประกอบสำคัญในวิถีชีวิตของพระสงฆ์ในยุคพุทธกาล และเป็นที่เกิดขึ้นของพุทธพจน์เป็นอันมากในพระธรรมวินัย, อุปัฏฐานศาลาเกิดมีขึ้นตั้งแต่ระยะแรกของพุทธกาล สืบเนื่องจากพุทธานุญาตให้พระสงฆ์มีเสนาสนะเป็นที่อยู่อาศัย คือ ในช่วงปีที่ ๒-๓ แห่งพุทธกิจ ขณะประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ คำร้องขอของเศรษฐีแห่งเมืองราชคฤห์ที่มีศรัทธาจะสร้างวิหารคือกุฎีที่พักอาศัยถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย ได้เป็นเหตุให้ทรงอนุญาตเสนาสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย (วินย.7/200/86) ต่อจากนั้น ก็มีพุทธบัญญัติเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในวัด รวมทั้งพุทธานุญาตหอฉันคืออุปัฏฐานศาลานี้ (วินย.7/235/98) แล้วในเวลาใกล้เคียงต่อจากนั้น อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ได้สร้างวัดพระเชตวันขึ้นที่เมืองสาวัตถี ในคำบรรยายการสร้างวัดพระเชตวันนั้น บอกด้วยว่าได้สร้างอุปัฏฐานศาลา โดยใช้คำพหูพจน์ (อุปฏฺฐานสาลาโย, วินย.7/235/98) ซึ่งแสดงว่าที่พระเชตวันนั้น มีอุปัฏฐานศาลาหลายหลัง, นอกจากอุปัฏฐานศาลาแล้ว ตามเรื่องในพระไตรปิฎกอาคารอีกชื่อหนึ่งรองลงไป ที่ภิกษุทั้งหลายมักไปนั่งประชุมสนทนาธรรมกัน ซึ่งบางครั้งพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปทรงไถ่ถามและทรงชี้แจงอธิบาย ได้แก่ “มัณฑลมาฬ” (โรงกลม) ซึ่งเป็นศาลาที่นั่งพัก หรือเรียกอย่างชาวบ้านว่าศาลาที่นั่งเล่น (นิสีทนศาลา, อรรถกถาบางแห่งว่าเป็นอุปัฏฐานศาลาเช่นกัน) พระสูตรสำคัญบางสูตรก็เกิดขึ้นที่ศาลานั่งพักแบบนี้; ในชั้นอรรถกถา นิยมเรียกที่ประชุมฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจา้ วา่ “ธรรมสภา” ดังนั้น อุปฏั ฐานศาลาของพระไตรปิฎก จึงมักปรากฏในอรรถกถา ในชื่อว่าธรรมสภา ดังที่อรรถกถาบางแห่งไขความว่า “คำว่า ‘ในอุปัฏฐานศาลา’ หมายความว่า ‘ในธรรมสภามณฑป’” (อุ.อ.๑๒/๑๐๖)
ดู ธรรมสภา