ไปยังหน้า : |
มัชเฌนธรรมเทศนา คือ ธรรมที่พระพุทธเจาทรงแสดงเปนกลางๆ ตามความจริงของธรรมชาติคือตาม สภาวะที่สิ่งทั้งหลายมันเปนของมันเอง ตามเหตุปจจัย ไมติดของในทิฏฐิคือทฤษฎีหรือแนวคิดเอียงสุดทั้งหลาย ที่มนุษยวาดใหเขากับสัญญาที่ผิดพลาด และความยึดความอยากของตน ที่จะใหโลกและชีวิตเปนอยางนั้นอยางนี้
ดังได้กล่าวแล้วว่า มัชเฌนธรรมเทศนานี้ หมายถึงหลักปฏิจจสมุปบาท อันได้แก่กระบวนธรรมแห่งการเกิดขึ้นพร้อมโดยอาศัยกันและกันของสิ่งทั้งหลาย กระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทที่ชี้แจงเรื่องความทุกข์ของมนุษย์นั้น ท่านแสดงไว้เป็น ๒ แบบ หรือ ๒ สาย
- สายที่หนึ่ง แสดงการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร และจัดเป็นคำจำกัดความของอริยสัจ ข้อที่ ๒ คือ สมุทัยอริยสัจ
- สายที่สอง แสดงการดับไปแห่งทุกข์ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร และจัดเป็นคำจำกัดความของอริยสัจข้อที่ ๓ คือ นิโรธอริยสัจ
โดยสรุป มัชเฌนธรรมเทศนา แสดงกระบวนธรรม ๒ สาย คือ 1051
๑. สมุทัย = ปฏิจจสมุปบาท สมุทัยวาร: อวิชชา → สังขาร → วิญญาณ ฯลฯ → ชาติ → ชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาส = เกิดทุกข์
๒. นิโรธ = ปฏิจจสมุปบาท นิโรธวาร: อวิชชาดับ → สังขารดับ → วิญญาณดับ ฯลฯ → ชาติดับ → ชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาส ดับ = ดับทุกข์
การที่จะแสดงสมุทัย ก็เพราะมีทุกข์เป็นตัวปัญหา เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ต้องสืบค้นหาสาเหตุ ดังนั้น จึงได้บรรยายเรื่องสภาวธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งปัญหา คือ ความทุกข์นั้นไว้แต่ต้น ในภาคมัชเฌนธรรมเทศนา
ส่วนนิโรธก็มีความหมายกว้าง นอกจากหมายถึงกระบวนการที่จะทำให้ทุกข์ดับ คือปฏิจจสมุปบาทนิโรธวารแล้ว ยังกินความถึงนิพพานที่เป็นภาวะดับทุกข์ หรือภาวะไร้ทุกข์ด้วย ดังนั้น ในภาคมัชเฌนธรรมเทศนาจึงได้บรรยายไว้ทั้งกระบวนการดับทุกข์ และภาวะแห่งนิพพาน