| |
สรุป “พุทธธรรม” ลงในอริยสัจ  |   |  

เนื้อความ และโครงเรื่อง ของหนังสือ พุทธธรรม นี้ แม้จะดูเหมือนแปลกไปจากคัมภีร์และตำราต่างๆ เท่าที่มีอยู่ในหลายส่วน และหลายลักษณะ แต่ความจริงแล้ว ก็ดำเนินอยู่ในหลักการเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ คือ อริยสัจ นั่นเอง มิได้ผิดแปลกไปแต่ประการใด

เพื่อให้เห็นชัด จึงขอจัดโครงเรื่องของหนังสือ ลงในหลักอริยสัจ ๔ ดังนี้

ภาค ๑ มัชเฌนธรรมเทศนา

หมวด ๑ ทุกข์

บทที่ ๑: ชีวิต คืออะไร? ขันธ์ ๕

บทที่ ๒: ชีวิต คืออะไร? อายตนะ

บทที่ ๓: ชีวิต เป็นอย่างไร? ไตรลักษณ์

หมวด ๒ สมุทัย

บทที่ ๔: ชีวิต เป็นไปอย่างไร? ปฏิจจสมุปบาท

บทที่ ๕: ชีวิต เป็นไปอย่างไร? กรรม

หมวด ๓ นิโรธ

บทที่ ๖: ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร? นิพพาน

บทที่ ๗: ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร? ประเภทและระดับแห่งนิพพานและผู้บรรลุนิพพาน

บทที่ ๘: ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร? ข้อควรทราบเพิ่มเติมเพื่อเสริมความเข้าใจ

บทที่ ๙: ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร? หลักการสำคัญของการบรรลุนิพพาน

บทที่ ๑๐: ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร? บทสรุป

ภาค ๒ มัชฌิมาปฏิปทา

หมวด ๔ มรรค

บทที่ ๑๑: ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร? บทนำของมัชฌิมาปฏิปทา

บทที่ ๑๒: ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร? บุพภาคของการศึกษา ๑: ปรโตโฆสะ-กัลยาณมิตร

บทที่ ๑๓: ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร? บุพภาคของการศึกษา ๒: โยนิโสมนสิการ

บทที่ ๑๔: ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร? องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา ๑ หมวดปัญญา

บทที่ ๑๕: ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร? องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา ๒ หมวดศีล

บทที่ ๑๖: ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร? องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา ๓ หมวดสมาธิ

บทที่ ๑๗: บทสรุป อริยสัจ ๔

ภาค ๓ บทความประกอบ (ตัวอย่างแสดง: อารยธรรมวิถี – ชีวิตที่ดี เป็นอย่างไร?)

บทที่ ๑๘: บทความประกอบที่ ๑: ชีวิตและคุณธรรมพื้นฐานของอารยชน

บทที่ ๑๙: บทความประกอบที่ ๒: ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม

บทที่ ๒๐: บทความประกอบที่ ๓: เรื่องเหนือสามัญวิสัย

บทที่ ๒๑: บทความประกอบที่ ๔: ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ

บทที่ ๒๒: บทความประกอบที่ ๕: ความสุข ๑: ฉบับแบบแผน

บทที่ ๒๓: บทความประกอบที่ ๖: ความสุข ๒: ฉบับประมวลความ


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |