| |
ชีวิตที่ดี มีจุดหมายให้พัฒนาถึงได้ตลอดทาง

คนที่ดําเนินชีวิตดีงามถูกตองเปนประโยชน แมไมรูตัวไมทันไดนึก ก็ไดฝกตนคือศึกษา มีสิกขาอยูตลอดเวลา จึงพัฒนากาวหนาไปในมรรคาชีวิต ในการนี้ เพื่อใหการศึกษาพัฒนาชีวิตนั้นเกิดมีผลดีจริงจังชัดเจน เขา ควรตระหนักรูถึงประโยชนที่ชีวิตควรไดควรถึง ซึ่งก็คือเปนจุดหมายของการพัฒนาชีวิตนั้น ขอใหดูพุทธพจนนี้

“ผู้ไม่ประมาท เป็นบัณฑิต จะยึดเอาได้ซึ่งอัตถะ (ประโยชน์อันเป็นที่หมาย) ทั้ง ๒ อย่าง คือ อัตถะขั้นทิฏฐธัมม์ (ประโยชน์ที่ตามองเห็น) และอัตถะขั้นสัมปราย์ (ประโยชน์ที่ล้ําเลยตา เห็น), คนที่เรียกว่าเป็นปราชญ์ เป็นบัณฑิต ก็เพราะลุถึงอัตถะ”*23

อัตถะคือประโยชนที่หมาย ขั้นตาเห็นเปนทิฏฐธัมม ก็คือชีวิตที่เปนอยูดีดานวัตถุรูปธรรมและสังคม ที่ สําคัญคือ มีสุขภาพ (บาลีนิยมใชวา อายุ) มีทรัพย มียศเกียรติไมตรี มีครอบครัวที่สุขสมาน คําสอนแกคฤหัสถ สําหรับประชาชนทั่วไป วาดวยการสรางเสริมและปฏิบัติในเรื่องเหลานี้มีมาก ตั้งแตวาจะใหสุขภาพดีมีอายุยืน ก็ ใหบริโภคดวยปญญารูคุณคาแท มีมัตตัุญตา รูจักกินเสพใหพอดี สอนการคบหา อยูรวมรวมสรางสรรคใน สังคม ฯลฯ เปนการปฏิบัติธรรมที่ไมควรละเลยหรือมองขาม แตควรเนนย้ําบอยๆ แกชาวบานหมูชนคนทั่วไป*24

ตอไป อัตถะขั้นเลยตาเห็นเปนสัมปราย วาใหสั้นก็คือความเจริญงอกงามของชีวิตนั้น ที่พัฒนาดียิ่งขึ้นไป ทั้งกายวาจา (ศีล) จิตใจ และปญญา วาในขั้นพื้นฐาน สําหรับทุกคนตั้งแตชาวบาน คือ

๑. ศรัทธา มีความเชื่อความมั่นใจที่ทําใหมุงไปในการทํากรรมดีและกาวไปในมรรคาของการพัฒนาชีวิต

๒. ศีล มีพฤติกรรม แสดงออก ทําการทางกายวาจา ที่สุจริต เกื้อกูล ไมทําราย ไมเบียดเบียน ไมทําเสียหาย

๓. จาคะ มีน้ําใจเสียสละ ไมคับแคบเห็นแกตัวเอาแตใจ ใจกวาง พรอมที่จะรับรูรับฟง รวมมือ เผื่อแผชวยเหลือ เพื่อธรรม เพื่ออัตถะ ขางนอก สละเงินทอง ก็งาย ขางใน สละกิเลส เชน มัจฉริยะ มานะ ทิฐิ ก็ได

๔. ปัญญา มีความรูเขาใจทั่วถึงเทาทัน ที่จะดับทุกขภัยแกไขปญหา และคิดการทํากิจใหสัมฤทธิ์ผลอยางดี

บนพื้นฐานนี้ มีอัตถะขั้นสัมปรายที่จะใหกาวไปลุถึงไดมากมาย ตามแตมรรคภาวนาจะกาวไปดวย การศึกษาแหงไตรสิกขาไดแคไหน เฉพาะอยางยิ่งสําหรับภิกษุซึ่งไดเขาสูสังฆะโดยมีชีวิตที่มุงจะกาวไปในไตร ศึกษาอยางอุทิศตัว ทานเนนระดับสูงสุดของอัตถะขั้นสัมปราย ถึงกับแยกออกมาเปนอัตถะอีกขั้นหนึ่ง เปนระดับ ที่ ๓ เรียกวาปรมัตถ หรืออัตถะขั้นบรม ซึ่งมุงจําเพาะใหถึงประโยชนสูงสุด ซึ่งมีความหมายที่จะเรียกวา วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ เกษม สุข นิพพาน ก็ไดทั้งนั้น (ทุกคนมีศักยภาพที่จะลุถึงได)

อัตถะคือประโยชนที่เปนจุดหมาย มีเปนขั้นเปนระดับดังที่วานั้น และอัตถะเหลานั้น ทุกคนควรไดควรถึง โดยที่แตละคนควรชวยเหลือเกื้อหนุนใหคนอื่นลุถึงดวย ดังพุทธดํารัสที่ตรัสไวอีกวา

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมองเห็นประโยชน์ตน (อัตตัตถะ) ก็ควรแท้ที่จะทําให้สําเร็จด้วยความไม่ ประมาท, หรือเมื่อมองเห็นประโยชน์ผู้อื่น (ปรัตถะ) ก็ควรแท้ที่จะทําให้สําเร็จด้วยความไม่ประมาท, หรือเมื่อมองเห็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (อุภยัตถะ) ก็ควรแท้ที่จะทําให้สําเร็จด้วยความไม่ประมาท*25

ตามหลักนี้ ทุกคนจึงควรทําเพื่ออัตถะ ๒-๓ ขั้นนั้น ทั้งแกตน แกคนอื่น แกกันและกัน และแกสวนรวม รวมกัน ทั้งนี้ เมื่อคนพัฒนาอัตถะของตน ก็ทําใหเขาเกงยิ่งขึ้นในการทําเพื่ออัตถะของคนอื่นและของสวนรวม

ขอสําคัญก็คือ เมื่อคนทําเพื่ออัตถะของผูอื่น เขาจะไดพัฒนาอัตถะของตนเองอยางมาก เชนในการแกปญหาทํา ประโยชนสําคัญ ใหแกผูอื่นแกสวนรวมแกชุมชนแกสังคม คนจะไดพัฒนาความดีและปรีชาสามารถของตนอยางยวดยิ่ง ดังที่วา บุคคลผูทําการเพื่อคนทั้งโลก เพื่ออัตถะสูงสุดของมวลมนุษย จะไดพัฒนาตนจนมีชื่อวาเปนมหาบุรุษ จนถึงเปนพระโพธิสัตว

เพื่ออัตถะทั้ง ๒-๓ ขั้น ในแดนอัตถะทั้ง ๓ จึงมีภาคปฏิบัติการทั้งหมดแหงพุทธธรรม ฉะนี้


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |