| |

เมื่อทิฏฐิก็ดี ญาณก็ดี เกิดขึ้นแลว ก็ยอมมีการกําหนดหมาย หรือหมายรูตามทิฏฐิหรือตามญาณนั้นเกิดเปนสัญญาใหมขึ้นอีก ทิฏฐิและญาณจึงทําใหเกิดสัญญาซึ่งเปนวัตถุดิบของความรูและความคิดอื่นสืบตอไป ขอแตกตางกันคือ ทิฏฐิมักพลอยทําใหเกิดสัญญาใหมที่ผิดพลาด สวนญาณจะชวยใหเกิดสัญญาที่ถูกตอง และแกสัญญาที่ผิดพลาด95

ความรูที่ออกรูปมา ๓ แบบ ในกระบวนการพัฒนาปญญาภายในบุคคลนี้พึงพิจารณาโดยสัมพันธกับวิธีทําใหเกิดปญญา ๓ วิธีที่ทานแสดงไวในเรื่อง ปญญา ๓ ประเภท ดวย คือ96

๑. จินตามยปญญา ปญญาเกิดจากการคิดการพิจารณาหาเหตุผลดวยตนเอง

๒. สุตมยปญญา ปญญาเกิดจากการสดับเลาเรียนหรือถายทอดตอกันมา

๓. ภาวนามยปญญา ปญญาเกิดจากการลงมือปฏิบัติฝกหัดอบรม

นอกจากตัววิธีที่เปนหลักใหญแลว ยังมีกิจกรรมอีกหลายอยางที่พึงใชประกอบในกระบวนการกอใหเกิดปญญา โดยเฉพาะในวิธีที่ ๓ กิจกรรมที่สําคัญๆ คือ การฟง ซักถาม สอบคน (สวนะ และปริปุจฉา) การสนทนาถกเถียง อภิปราย (สากัจฉา) การสังเกตดูเฝาดูดูอยางพินิจ (ปสสนะ และนิชฌาน) การพิจารณาโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ หรือ โยนิโสอุปปริกขา) การชั่งเหตุผล (ตุลนา) การไตรตรอง ตรวจสอบ ทดสอบ สอบสวน ทดลอง และเฟน (วิมังสา และวิจัย) การเสพค้น ฝกหัด ทําบอย ทําใหมาก (อาเสวนะ ภาวนา และพหุลีกรณ)97

การคิด การเลาเรียนสดับฟง และการปฏิบัติฝกปรือ ยอมเปนเครื่องชวยใหสัญญา ทิฏฐิและญาณนั้นเกิดมีใหมขึ้นบาง กาวหนาเพิ่มพูนขึ้นบาง ไดรับการแกไขปรับปรุงใหถูกตองขึ้นบาง

วาที่จริง สุตะคือความรูที่ไดเลาเรียนสดับมา ก็ดีการคิดอะไรไดตางๆ ก็ดีและปญญาที่รูเขาใจอยางนั้นอยางนี้ก็ดียอมเปนความรูแบบตางๆ ที่มีอยูในตัวบุคคลดวยเหมือนกัน แตความรูที่จะออกผลเปนชิ้นเปนอันเปนรูปสําเร็จขึ้นในตัวบุคคล ก็คือ ความรู ๓ อยางขางตน คือ สัญญา ทิฏฐิ และญาณนั้น อาจพูดไดวาสัญญาทิฏฐิและญาณ ก็คือ ผลขางปลายของสุตะ จินตา และภาวนานั่นเอง

เมื่อความรู้ออกรูปเป็นสัญญา ทิฏฐิ และญาณแล้ว ย่อมมีผลต่อชีวิตของบุคคลมาก สัญญามีอิทธิพลยิ่งต่อการรับรู้ การมองเห็น การเข้าใจโลกรอบตัว และการที่จะสร้างความรู้อย่างอื่นต่อๆ ไป ทิฏฐิตั้งแต่ความยึดถือลัทธิศาสนา และอุดมการณ์ต่างๆ ตลอดลงมาจนถึงค่านิยมต่างๆ เป็นตัวชี้นำแนวทางแห่งพฤติกรรมและวิถีชีวิตของบุคคลได้ทั้งหมด ส่วนความรู้ประเภทญาณ เป็นความรู้กระจ่างชัดและลึกซึ้งที่สุด เป็นผลสำเร็จทางปัญญาสูงสุดที่มนุษย์จะทำได้ สามารถชำระล้างลงไปถึงจิตสันดานของบุคคล สร้างหรือเปลี่ยนแปลงท่าทีแห่งการมองโลกและชีวิต ที่เรียกว่าโลกทัศน์และชีวทัศน์ได้ใหม่ มีผลต่อพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของบุคคลอย่างเด็ดขาดและแน่นอนยั่งยืนยิ่งกว่าทิฏฐิ

ความรูชุดนี้สัมพันธกับความรูที่จําแนกอีกแบบหนึ่ง ในชุดตอไปดวย


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |