| |
บันทึกที่ ๑: ธรรมนิยาม ๑ และ ธรรมนิยาม ๓

มีหลักธรรม ๒ หมวดใหญ่ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโดยตรัสเรียกว่าเป็น “ธมฺมนิยามตา” ซึ่งในภาษาไทยนิยมใช้รูปศัพท์ที่เรียกได้สะดวกขึ้นว่า “ธรรมนิยาม” และแปลเป็นภาษาไทยอย่างง่ายว่า “ภาวะที่แน่นอนแห่งธรรม” “ธรรมดา” หรือ “กฎธรรมชาติ” คือ หลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดา หรือความเป็นจริงของธรรมชาติตามที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปของมันเอง (พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ มันก็มีก็เป็นไปของมันอยู่อย่างนั้นๆ

หลักธรรม ๒ หมวดสำคัญ หรือธรรมนิยาม ๒ ชุดนั้น คือ

ชุดที่ ๑ อิทัปปัจจยตา ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาทมีองค์ ๑๒ หรือพูดให้ง่ายว่า ๑๒ หัวข้อ (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๖ สังยุตตนิกาย นิทานวัคค์)

ชุดที่ ๒ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา ซึ่งในยุคอรรถกถาเป็นต้นมา นิยมเรียกชื่อรวมชุดว่า ไตรลักษณ์ (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๐ อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต)

ที่จริง คำที่ทรงเรียกหลักนี้ ตรัสเป็นคำคู่ว่า “ธมฺมฏฺิตตา ธมฺมนิยามตา” ซึ่งในภาษาไทยเรียกกันว่า “ธรรมฐิติ ธรรม-นิยาม” และนิยมใช้คำเดียวว่า “ธรรมนิยาม

ธรรมนิยาม ๒ ชุดนี้ มีความหมายดังได้อธิบายมาแล้วในบทที่ ๓ และบทที่ ๔ ตามลำดับ แต่เมื่อได้อ่านผ่านมาครบแล้ว เห็นว่าควรสรุปข้อควรทราบไว้ด้วยกัน และกล่าวถึงข้อสังเกตบางอย่างไว้ในที่นี้ เป็นความรู้เสริมประกอบสักเล็กน้อย

นิยาม ชุด ๑ ข้อ และชุด ๓ ข้อ เรียงต่อกันเป็น ๔ ข้อ และโยงถึงอริยสัจ ๔

ธรรมนิยาม ๒ ชุดนั้น ถ้านับจำนวนเรียงต่อกัน ก็รวมเป็นธรรมนิยาม ๔ คือ ธรรมนิยาม ๑ (อิทัปปัจจยตา) กับ ธรรมนิยาม ๓ (อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา)

ธรรมนิยาม (ธมฺมนิยามตา) ชุดที่ ๑ คือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ต่อด้วยธรรมนิยามชุดที่ ๒ ที่แสดงไตรลักษณ์ (๓ ข้อ) นำมาเรียงต่อกัน รวมเป็นธรรมนิยาม ๔ ข้อ ดังนี้

๑. …อุปฺปาทา วา ตถาคตาน อนุปฺปาทา วา ตถาคตาน ิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺิตตา ธมฺมนิยามตา อิทปฺปจฺจยตา …

๒. อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตาน อนุปฺปาทา วา ตถาคตาน ิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺิตตา ธมฺมนิยามตา สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ

๓. อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตาน อนุปฺปาทา วา ตถาคตาน ิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺิตตา ธมฺมนิยามตา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ

๔. อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตาน อนุปฺปาทา วา ตถาคตาน ิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺิตตา ธมฺมนิยามตา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ

มีคำแปลดังนี้

๑. “… ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ดำรงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม คือ อิทัปปัจจยตา…”

๒. “ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ดำรงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ว่า สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง”


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |  
หนังสือที่เกี่ยวข้อง