ไปยังหน้า : |
เบื้องแรก พึงทราบวิธีปฏิบัติตามแนวพุทธพจน์ ดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ เจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ก. ไปสู่ป่า ก็ดี ไปสู่โคนไม้ ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง ก็ดี 1656
ข. นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า (= เอาสติมุ่งต่อกรรมฐาน คือลมหายใจที่กำหนด)
ค. เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า 1657
หมวดสี่ ที่ ๑ ใช้บำเพ็ญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานได้
๑) เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
๒) เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
๓) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจออก
สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจเข้า
๔) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจออก
สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจเข้า
หมวดสี่ ที่ ๒ ใช้บำเพ็ญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานได้
๕) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดปีติ หายใจออก
สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดปีติ หายใจเข้า
๖) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งสุข หายใจออก
สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งสุข หายใจเข้า
๗) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก
สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า
๘) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับจิตตสังขาร หายใจออก
สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
หมวดสี่ ที่ ๓ ใช้บำเพ็ญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานได้
๙) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิต หายใจออก