| |
บันทึกที่ ๑: เรื่อง ปัญญา ๓

ปญญานั้น แทจริงก็มีอยางเดียว ไดแกธรรมชาติที่เปนความรูเขาใจสภาวะ คือหยั่งถึงความจริงของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเปน แตก็นิยมจําแนกแยกประเภทออกไปเปนหลายอยาง ตามระดับของความรูเขาใจบาง ตามหนาที่หรือแงดานของการทํางานของปญญาบาง ตามทางที่ปญญานั้นเกิดขึ้นบาง เปนตน

ปญญาชุดหนึ่งซึ่งจําแนกตามแหลงที่มา หรือทางเกิดของปญญา ไดแก ปญญา ๓ อยาง ชุดที่แยกออกไปเปน สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา คําทายคือปญญาเปนตัวกลางรวมกัน สวนคําขางหนาที่ตางกัน บอกที่มาหรือแหลงเกิดของปญญานั้น วา หนึ่ง เกิดจากสุตะ (การสดับฟง การอาน และเลาเรียน) สอง เกิดจากจินตะ(การคิดไตรตรองพิจารณา) และสามเกิดจากภาวนา (การปฏิบัติตอจากนั้น)

ปัญญา ๓ อยางชุดนี้ ในพระไตรปฎกกลาวถึงนอย แตมีผูนํามาพูดกันคอนขางบอย ขอสําคัญคือเขาใจความหมายกันไมคอยชัด จึงควรแสดงคําอธิบายที่พวงมากับถอยคําเหลานี้สืบแตเดิมไว เพื่อประโยชนในการศึกษา

เริ่มดวยการเรียงลําดับ ปญญา ๓ นั้น ตามที่พูดกัน มักเรียงสุตมยปญญาเปนขอแรก แตของเดิมในพระไตรปฎก ทั้งในพระสูตร (ที.ปา.11/228/231) และในพระอภิธรรม (อภิ.วิ.35/797/422) เริ่มดวยจินตามยปัญญาเปนขอแรก อยางไรก็ตาม ในเนตติปกรณ ซึ่งพระเถรวาทสายพมาถือเปนคัมภีรหนึ่งในพระไตรปฎกดวย (จัดรวมไวใน ขุททกนิกาย แหงพระสุตตันตปิฎก) เรียงสุตมยปญญาขึ้นกอน (และเรียกชื่อตางไปเล็กนอยเปน สุตมยีปญญา จินตามยีปญญา ภาวนามยีปญญา) และตอมา ในคัมภีรชั้นอรรถกถา-ฎีกา นิยมมากขึ้นในทางที่จะเรียกชื่อเปน สุตมยญาณ จินตามยญาณ และภาวนามยญาณ

ในที่นี้ขอเรียงลําดับ ปัญญา ๓ ตามพระไตรปฎกชั้นเดิมไวกอน พรอมดวยแสดงความหมายสั้นๆ ดังนี้

๑. จินตามยปญญา ปญญาเกิดจากการคิดพิจารณา (ปญญาเกิดจากโยนิโสมนสิการที่ตั้งขึ้นในตนเอง)

๒. สุตมยปญญา ปญญาเกิดจากการสดับเลาเรียน (ปญญาเกิดจากปรโตโฆสะ)

๓. ภาวนามยปญญา ปญญาเกิดจากการปฏิบัติบําเพ็ญ (ปญญาเกิดจากปญญาสองอยางแรกนั้นแลวหมั่นมนสิการในประดาสภาวธรรม)

การที่ท่านเรียงจินตามยปัญญาขึ้นก่อน หรือสุตมยปัญญาขึ้นก่อนนั้น จับความได้ว่า อยู่ที่การคำนึงถึงบุคคลเป็นหลัก หรือมองธรรมตามความเกี่ยวข้องของบุคคล

ในกรณีที่เรียงจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก ก็คือ ท่านเริ่มที่บุคคลพิเศษประเภทมหาบุรุษก่อน หมายความว่า พระพุทธเจ้า (และพระปัจเจกพุทธเจ้า) ผู้ค้นพบและเปิดเผยความจริงขึ้นนั้น มิได้อาศัยสุตะ ไม่ต้องมีปรโตโฆสะคือการฟังจากผู้อื่น แต่รู้จักคิดพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการของตนเอง สามารถสืบสาว เรียงต่อ ไล่ตามประสบการณ์ทั้งหลายอย่างถึงทันทั่วรอบทะลุตลอด จนหยั่งเห็นความจริงได้ จากจินตามยปัญญาจึงต่อเข้าภาวนามยปัญญาไปเลย (ไม่ต้องอาศัยสุตมยปัญญา)

แต่เมื่อมองที่บุคคลทั่วไป ท่านเริ่มด้วยสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก โดยมีคำอธิบายตามลำดับว่า บุคคลเล่าเรียนสดับฟัง ได้สุตะ ได้ข้อธรรม ได้ข้อมูลแล้ว เกิดศรัทธาขึ้นเป็นพื้นเบื้องต้น จึงนำไปใคร่ครวญตรวจสอบพิจารณาได้ความรู้เข้าใจในสุตะนั้น ก็เกิดเป็นสุตมยปัญญา แล้วในขั้นต่อไป อาศัยสิ่งที่ได้เรียนสดับนั้นเป็นฐาน เขาตรวจสอบชั่งตรองเพ่งพินิจขบคิดลึกชัดลงไป มองเห็นเหตุผลความสัมพันธ์เป็นไปชัดเจน เกิดเป็นจินตามยปัญญา เมื่อเขาใช้ปัญญาทั้งสองนั้นขะมักเขม้นมนสิการในสภาวธรรมทั้งหลาย (พูดอีกสำนวนหนึ่งว่า อาศัยหรือตั้งอยู่ในปัญญาทั้งสองนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนา - สุตจินฺตามยาเณสุ หิ ปติฏฺฐิโต วิปสฺสนํ อารภติ, เนตฺติ.53) แล้วเกิดญาณ มีความรู้สว่างประจักษ์แจ้งความจริง เป็นมรรคที่จะให้เกิดผลขึ้น ก็เป็นภาวนามยปัญญา


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |