| |
ค. จำแนกโดยพัฒนาการทางปัญญา (ภายในบุคคล)  |   |  

เมื่อพิจารณาในแงพัฒนาการ ความรูที่อยูในขอบเขตซึ่งจะตองเกี่ยวของก็คือ ความรูประเภทที่เปนภาเวตัพพธรรม (สิ่งที่ควรเจริญหรือฝกปรือ) สวนความรูประเภทปริญไญยธรรม (สิ่งที่ควรกําหนดรูหรือรูจัก) ก็เปนอันไมตองกลาวถึง ดังนั้น ความรูที่เรียกวา วิญญาณ จึงไมจัดเขาในหัวขอนี้

ความรูที่อยูในขอบเขตของการฝกอบรม จําแนกไดเปน ๓ ประเภท เรียงตามลําดับแหงพัฒนาการ หรือ ความเจริญแกกลา ที่ออกผลมาเปนอยางๆ ดังนี้

๑. สัญญา ความกําหนดไดหมายรูไดแก ความรูที่เกิดจากการกําหนดหมาย หรือจําไดหมายรูซึ่งบันทึกไวเปนแบบสําหรับเทียบเคียงและเปนวัตถุดิบของการรูและการคิดตอๆ ไป แบงไดเปน ๒ พวก ดังได อธิบายแลวในความรูชุด ก.

เมื่อวาโดยคุณภาพในกระบวนการพัฒนาความรูจะเห็นไดวา สัญญาที่เกิดขึ้นตามปกติในกระบวนการรับรูคือ สัญญาชั้นตนทั้งหลายก็ดีสัญญาที่หมายรูตามความรูความเขาใจที่เจริญเพิ่มพูนขึ้นในการฝกอบรมปญญาก็ดีแมวาอาจแตกตางกันไดเปนความรูหลายระดับ ตั้งแตรูคลุมเครือถึงรูชัดเจน ตั้งแตรูบางแงถึงรูสมบูรณตั้งแตรูผิดพลาดถึงรูถูกตอง ก็เปนเพียงเรื่องของการรูและไมรูเทานั้น จึงนับวาเปนเรื่องของความรูและการพัฒนาความรูโดยตรง สวนสัญญาฟามเฟอที่เรียกวา ปปญจสัญญา หรือ กิเลสสัญญา มีลักษณะตรงขามคือ เปนเครื่องกีดกั้น ปดบัง และบิดเบือนความรู


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |