| |
ชาวบาน ดําเนินมรรคาดวยการศึกษาบุญ |  

กอนหนานี้ ไดบอกแลววา ในคําสอนธรรมเพื่อใหเหมาะสําหรับคฤหัสถ คือชาวบาน แทนที่ทานจะนํา ระบบของมรรคมาจัดขั้นตอนในรูปของไตรสิกขา เปน ศีล สมาธิ ปญญา แตทานจัดใหมเหมือนดังจะใหเปน ไตรสิกขาฉบับที่งายลงมา โดยวางรูปขั้นตอนใหม เปนหลักทั่วไป ที่เรียกวาบุญกิริยา หรือบุญกิริยาวัตถุ ซึ่งมี จํานวน ๓ ขอ หรือ ๓ ขั้น เทากับไตรสิกขานั้นเอง แตมีชื่อหัวขอตางออกไปเปน ทาน ศีล ภาวนา

ถึงตอนนี้ เมื่อยกไตรสิกขาขึ้นมาย้ำในแงการศึกษาแลว ก็ควรใหเขาใจบุญกิริยาในความหมายของ การศึกษาดวย และแทจริงนั้น สาระหรือเนื้อแททั้งหมดของบุญกิริยา คือการทําบุญนั้น ก็คือการศึกษานั่นเอง

ขอใหดูพุทธพจนที่แสดงหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ ... คือ ทานมัย บุญกิริยาวัตถุ ๑ ศีลมัย บุญกิริยาวัตถุ ๑ ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ ๑ ...

“(ผู้ใฝ่อัตถะนั้น) พึงศึกษาบุญนั่นทีเดียว อันมีผลกว้างไกล มีความสุขเป็นกําไร คือ พึงเจริญทาน ๑ สมจริยา (ความประพฤติเข้ากับธรรม หรือสมตามธรรม) ๑ เมตตาจิต ๑ บัณฑิตเจริญธรรม ๓ ประการ อันก่อให้เกิดความสุขเหล่านี้แล้ว ย่อม เข้าถึงโลกที่เป็นสุข ไร้การเบียดเบียน”1129

จะเห็นวา พระพุทธเจาทรงแสดงหลักบุญกิริยาวัตถุวามี ๓ อยาง คืออะไรบางแลว ก็ตรัสคาถาสรุป ทรงบอกใหรูกันวาจะทําอะไรกับบุญกิริยาวัตถุนั้น คือตรัสวา “พึงศึกษาบุญนั่นทีเดียว” ขอย้ําพระดํารัสเปนคําบาลี วา “ปุญฺญเมว โส สิกฺเขยฺย” ถานําคําทั้งสองมาสมาส (รวมเขาดวยกัน) ก็เปน “บุญสิกขา” นั่นเอง

ที่วาศึกษา ก็คือ ฝกทําใหเปนใหมีขึ้น ฝกหัดอบรมพัฒนาใหเจริญเพิ่มพูนถนัดชํานาญยิ่งขึ้นไป ก็คือ กาวหนางอกงามขึ้นไปในมรรค อยางคลอยตามไตรสิกขานั่นเอง และเมื่อถือไตรสิกขาเปนหลัก ก็เทียบกันไดดังนี้




ขอย้ำความอยางที่เคยกลาวมาแลววา หลักศึกษาบุญสําหรับชาวบานนี้ เนนชีวิตดานนอก และการ ประพฤติปฏิบัติพื้นฐานขั้นตน ตรงขามกับฝายบรรพชิตคือพระสงฆ ที่เนนดานใน และขั้นสูงขึ้นไป

จะเห็นไดชัดวา หลักปฏิบัติขั้นตนของไตรสิกขา รวมคลุมไวดวยศีลคําเดียว แตบุญกิริยาของชาวบาน ซึ่งเนนดานนอก ใหน้ําหนักแกเรื่องการจัดการกับวัตถุและการอยูรวมสังคม จึงแยกขั้นตนออกเปน ๒ ขอ โดย เอาเรื่องการจัดการวัตถุ คือทาน มาหนุนมานําศีล ขณะที่ของพระมีศีล แตของชาวบานมี ทาน และศีล

แตทางดานใน ที่เปนระดับลึกสูงขึ้นไป ไตรสิกขาของพระแบงชัดเปน ๒ คือ สมาธิ และปัญญา แตบุญกิริยาของชาวบานพูดรวมคลุมดวยภาวนาคําเดียว และตามพุทธพจน ใหมุงที่เมตตาภาวนา คือเจริญเมตตา

พูดอีกแบบหนึ่งวา ชีวิตพระนั้น ไมคอยเกี่ยวของกับวัตถุ ทานจึงมีบทบาทนอย ดังนั้น ในไตรสิกขา จึง เอาทานไปผนวกหรือแอบไวในศีล (จะดูการจัดสรรวัตถุของพระก็ไปมองในวินัย)


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |