ไปยังหน้า : |
๑. จุดเริ่มก็คือ คนเรานี้มีความรู้ความเข้าใจเป็นทุนเป็นฐานของตัว ถึงเวลานี้ขณะนี้ คนผู้นี้มีความรู้มี ความเข้าใจอะไรอย่างไรแค่ไหน ความรู้ความเข้าใจเท่าที่เขามีนั้น ก็จับตัวลงตัวเป็นความเห็น ความเชื่อ เป็นความยึดถือ เป็นหลักการที่ยึดไว้อย่างนั้น คือมันจะเป็นข้อสรุปหรือเป็นผลรวมแห่งความรู้ความเข้าใจ ของเขา หรือปัญญาเท่าที่มีที่ถึงในเวลานั้น เรียกสั้นๆ ว่า “ทิฏฐิ” (แปลว่าการมองเห็น, ปัญญาเท่าที่มีอยู่รู้ เข้าใจมองเห็นอะไรๆ) ซึ่งเชื่อถือยึดถือมองเห็นอย่างนั้นแค่นั้น แล้วทิฏฐินั้นก็จะเป็นตัวนําในกระบวนการ ดําเนินชีวิตของเขา
๒. จากนั้น บนฐานแห่งทิฏฐิ หรือโดยมีทิฏฐินั้นเป็นฐาน คนก็มี “สังกัป” ความดําริ ความคิดการ ต่างๆ คือ เมื่อมีทิฏฐิ มีปัญญามองเห็นแค่ไหน เชื่อ ยึดถืออย่างไร ก็คิดการต่างๆ ไปตามความรู้เข้าใจตาม ความเชื่อ ตามหลักที่ยึดถือไว้ แค่ที่เขารู้เข้าใจอย่างนั้นๆ หรือคิดในทางที่สนองทิฏฐินั้น เช่น คิดสร้างสรรค์ เกื้อกูลบ้าง คิดเบียดเบียนทําลายบ้าง