| |
บันทึกที่ ๗: ความหมายของภวตัณหา และวิภวตัณหา  |   |  

การแปลความหมายของตัณหา ๓ อย่าง โดยเฉพาะข้อที่ ๒ คือ ภวตัณหา และข้อที่ ๓ คือ วิภวตัณหา มักมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชัดเจน และความเห็นที่ขัดแย้งกัน จึงขอนำหลักฐานต่างๆ มาให้ช่วยกันพิจารณา

ในพระสูตร แม้บางแห่งจะจำแนกตัณหาออกเป็น ๓ อย่าง และบอกชื่อไว้ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ดังเช่นในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (วินย.4/13/18; สํ.ม.19/1664/528) สังคีติสูตร และทสุตตรสูตร (ที.ปา.11/228/228; ที.ปา.11/392/291) เป็นต้น แต่ก็ไม่มีที่ใดให้คำจำกัดความหรือแสดงความหมายไว้โดยตรงเลย ผู้ศึกษาจึงต้องหันไปพึ่งคัมภีร์ฝ่ายพระอภิธรรม และคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ครั้นได้หลักฐานมาเพียงบางแง่บางส่วน ไม่ครบถ้วนก็ดี หลักฐานที่ได้พบตนไม่สามารถแปลความหมายได้ชัดแจ้งก็ดี ก็ทำให้เกิดความเห็นแตกต่างและขัดแย้งกันขึ้น

ในพระสูตรนั้น แม้ว่าท่านจะไม่ได้ให้คำจำกัดความและแสดงความหมายไว้โดยตรง แต่ก็มีข้อความประกอบและพุทธพจน์ตรัสสอนในบางกรณี ที่จะช่วยส่องให้เห็นความหมายของตัณหา ๓ อย่างชัดเจนขึ้นได้ ในที่นี้ จึงจะแสดงหลักฐานทั้งฝ่ายพระสูตร พระอภิธรรม และคำอธิบายของอรรถกถา เพื่อผู้ศึกษาจะได้พิจารณาอย่างกว้างขวาง

ตัณหาสูตร ในอิติวุตตกะ (ขุ.อิติ.25/236/268) เป็นพระบาลีแห่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงจำแนกตัณหา ๓ อย่าง ไว้ ณ ที่นี้ แม้ว่าพระองค์จะมิได้ทรงแสดงความหมายของตัณหาแต่ละอย่างไว้โดยตรง แต่ก็ได้ตรัสข้อความเป็นคาถา ซึ่งอาจใช้ประกอบในการที่จะเข้าใจความหมายต่อไป

พระสูตรนี้ เมื่อแปลตรงไปตรงมาตามคำศัพท์เท่าที่มี โดยยังไม่นำเอาคำอธิบายเสริมความของอรรถกถาเข้าไปปรุง จะได้ดังนี้


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |  
หนังสือที่เกี่ยวข้อง