| |
หมายเหตุ: การตีความเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท  |   |  

ได้กล่าวในเชิงอรรถของหน้าที่ ๘ แห่งบทว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทนี้ (หนังสือ หน้า ๑๕๒) ว่า คัมภีร์อรรถกถาวิภังค์แห่งพระอภิธรรมปิฎก (สัมโมหวิโนทนี) หน้า ๒๖๐–๒๗๘ ได้แสดงกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทแบบที่เกิดครบถ้วนในขณะจิตเดียว

ข้อความนี้เห็นว่า ควรยกมากล่าวย้ำไว้อีก เพราะการเล่าเรียนเรื่องปฏิจจสมุปบาทที่สืบๆ กันมา ล้วนเป็นการแปลความและอธิบายแบบข้ามภพข้ามชาติทั้งนั้น เมื่อมีผู้ตีความและอธิบายปฏิจจสมุปบาทนั้นแบบกระบวนธรรมในชีวิตประจำวัน ท่านผู้ยึดถือหลักฐานทางคัมภีร์เป็นใหญ่อาจเห็นไปว่า การทำเช่นนั้นเป็นการตีความนอกแบบแผน ขาดหลักฐาน และเกิดความห่วงใย ไม่สบายใจ

เพื่อความอุ่นใจและสบายใจร่วมกัน จึงได้ยกหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่า การอธิบายความแห่ง ปฏิจจสมุปบาทแบบชีวิตประจำวันนั้น มีหลักฐานในคัมภีร์ แม้ว่าจะอธิบายไม่ถึงกับเหมือนหรือตรงกันทีเดียว แต่หลักฐานนั้นแสดงให้เห็นชัดและมั่นใจว่า การอธิบายแม้แต่ในระดับที่กระบวนธรรมดำเนินไปอย่างละเอียดรวดเร็วที่สุดในปัจจุบันถึงอย่างนี้ ก็ยังมีคำอธิบายไว้แล้ว เป็นแต่มีข้อน่าสังเกตว่า หลักฐานที่มีนั้น อาจเป็นร่องรอยของอดีตที่เลือนราง มองข้าม หรือปล่อยลืมกันไป และที่ยังเหลืออยู่ได้ ก็เพราะมีแกนคือพระไตรปิฎกยืนยันบังคับอยู่

ที่พูดมานี้ ขอขยายความว่า คำอธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบข้ามภพข้ามชาติที่ยึดถือเป็นหลักกันอยู่ในวงการศึกษาพุทธศาสนานั้น มาจากคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ซึ่งเป็นนิพนธ์ของพระพุทธโฆสาจารย์ เมื่อ พ.ศ.๙๐๐ เศษ แต่ยังมีคัมภีร์อีกเล่มหนึ่ง ซึ่งอธิบายปฏิจจสมุปบาทไว้ด้วยเช่นกัน คือ คัมภีร์สัมโมหวิโนทนี ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |  
หนังสือที่เกี่ยวข้อง