ไปยังหน้า : |
- จุดเริ่มเขาทางเชื่อม-แยก: สังกัป คือการดําริคิดการต่างๆ ในภาคปัญญานั้น จะพ่วงเอาแรงดันขับเคลื่อน (แรงจูงใจ) มาด้วย ดังพุทธพจน์แสดงปัจจยาการช่วงนี้ว่า “อาศัยความต่างแห่งสังกัป ก็เกิดความต่างแห่งฉันทะ” (สงฺกปฺปนานตฺตํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ ฉนฺทนานตฺตํ, สํ.นิ.16/344/173)
ฉันทะ คือ ความอยาก พอใจ ชอบใจ ปรารถนา แยกเป็น ๒ ประเภท คือ
ฝายราย: ตัณหาฉันทะ เรียกสั้นวาตัณหา = อยากใหตัวได มี เสพ เปนใหญ หายไป
ฝายดี : กัตตุกัมยตาฉันทะ เรียกสั้นวาฉันทะ = อยากทําใหสิ่ง/คนนั้นๆ เขาถึงสภาวะที่ดีงาม เต็มเปยม สมบูรณของเขา/ของมัน
เมื่อคนสังกัปคิดการตางๆ ความอยากแบบตัณหาหรือแบบฉันทะ ก็จะเปนแรงขับเคลื่อนพฤติกรรมไปตามสังกัปความคิดนั้น ตัณหาและฉันทะนั้นเปนจุดแยกสําคัญยิ่งที่ตัดสินวาคนจะไปทางอวิชชา หรือไปทางปญญา จึงจะต้องใส่ใจปลุกปลูกฉันทะขึ้น
ฉันทะนี้เปนคุณสมบัติในใจ ซึ่งทํางานรวมอยูในวายามะ โดยเปนตัวเริ่มตนของวายามะนั้น
๖. ดังพุทธพจนวา “...ฉนฺทํ ชเนติ วายมติ...” การขับเคลื่อนเริ่มด้วยให้ฉันทะเกิดมีขึ้น พอใจรักอยากทํา ก็พยายาม เป็นวายามะ เอาเรี่ยวแรงมาลงมือทําการ มีวิริยะ ความเพียร คือแกล้วกล้า เดินหน้า ก้าวไปใจสู้ พยายามคิดค้นพิจารณาวิจัยชี้แจงพูดจาทําการนั้นให้ถูกต้องได้ผลจนสําเร็จ
๗. เมื่อเพียรพยายามก้าวไปกับสังกัป ในการคิดการพูดจาทําการทั้งหลายนั้น ก็ต้องมีสติ ตื่น-ทันพร้อม-รับหน้า-จ่อ-จ้อง-จับ ใจอยู่กับกิจจิตอยู่กับงาน ไม่ใจลอย ไม่เผลอไผล ไม่พลาด ไม่หลุด ไม่หาย ไม่ ลืม จับได้ตามทันอยู่กับการที่ทํา อยู่กับเรื่องที่เกี่ยวข้อง ตรวจ-คัด-จัด-เลือก อะไรผิด-ร้าย เลิก-ละ-ผละ-เว้น กั้น-ยั้ง อะไรถูก-ดี-ใช่ มุ่งเข้าหา-เอา-จับไว้-เกาะติด-ตามไม่ปล่อย ให้ปัญญาทํางานได้คล่องไวเต็มวิสัย
๘. เมื่อมีสติ ใจตื่นพร้อม ทันต่อความเป็นไปรอบตัว ไม่เผลอไม่พลาด จับเรื่องจับงานไว้ให้ สมาธิ คือ ภาวะที่ใจเป็นหนึ่งเดียว ตั้งมั่น มุ่งแน่ว อยู่ตัว ได้ที่ ซึ่งเอาคุณสมบัติเกี่ยวข้องที่เป็นกําลังพลตัวทํางานของ จิตใจมารวมกันมั่นแน่มุ่งแน่วไปที่เรื่องที่งานนั้น ก็ทําให้กิจกรรมทุกอย่างของชีวิตดําเนินไปอย่างดีที่สุด เฉพาะอย่างยิ่งคือสร้างโอกาสให้ปัญญาทํางาน จัดการกับสิ่งทั้งหลาย และพัฒนาไปได้อย่างดีที่สุด
เป็นอันครบองค์ ๘ ของมรรค ที่จัดแยกเป็น ๓ หมวด ให้เห็นว่า ในแต่ละด้าน มีอะไรบ้างเป็นตัว ประกอบสําคัญ และโดยการชี้ทางส่องนําของปัญญาในวิสัยของทิฏฐิ-สังกัป แสดงออกมาเป็นพฤติกรรม แห่งศีลทางกาย-วาจา-อาชีวะ ด้วยเรี่ยวแรงกําลังงานของจิตใจที่มีวายามะ-สติ-สมาธิ ก็มีการดําเนินชีวิตที่ ดี มีความเป็นอยู่โดยมีการพัฒนาชีวิตนั้นตลอดเวลา ไม่เป็นชีวิตที่เรื่อยเปื่อยเฉื่อยชาจมอยู่ในความประมาท ก็จะก้าวไปในการพัฒนาชีวิตนั้น ครบเต็มระบบองค์รวมของมรรค
ในทางตรงข้าม ถ้าองค์มรรคไม่ถูกต้อง ไม่เป็นสัมมา แต่ไปทางร้ายเสียหายผิดพลาด เป็นมิจฉา เริ่ม แต่มีมิจฉาทิฏฐิ ก็จะคิด จะพูด จะทําผิดร้ายเสียหาย เป็นต้น (เป็นมิจฉาสังกัปป์ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ) ทําให้ดําเนินชีวิตในทางที่ผิดที่ร้าย กลายเป็นอนริยมรรค /อนารยมรรคไป ไม่สัมฤทธิ์จุดหมายของการพัฒนา