| |
จบการศึกษา วัดดวยพัฒนา ๔ ดาน

ทวนความเล็กนอยวา สิกขาคือการศึกษา มีขึ้นไวใหคนเอามาปฏิบัติ เพื่อจะไดพัฒนามรรคคือมรรคาชีวิต 1131 ผูที่จบการศึกษาแลว ก็เปน สิกขิตสิกขา (ศึกษิตศึกษา) ผูที่เสร็จการพัฒนามรรค ก็เปนภาวิตมัคค/ภาวิตมรรค นี่ก็คือพระอรหันต ซึ่งเปน อเสขะ ไมตองศึกษาอีกตอไป

คําทั้งหลายที่วามานี้ ไมตองติดใจ เพียงยกมาใหดูผานๆ ไป เพียงแตขอใหสังเกตคําวา “ภาวิต” ที่แปลวา ภาวนาแลว คือพัฒนาแลว

ยอนมาดูสิกขา คือการศึกษา ที่แยก ๓ ดาน เปนไตรสิกขา ไดแก อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปญญาสิกขา ซึ่งเรียกสั้นๆ วา ศีล สมาธิ ปญญา นั้น ไดทําความเขาใจกันมาแลวพอมองเห็นหลัก

ในที่นี้ จะขอใหสังเกตที่คําวา “ศีล” ซึ่งยังมีความหมายที่ควรรูเขาใจเพิ่มขึ้นอีก

ตามที่เขาใจและใหความหมายกันทั่วๆ ไป ศีล คือความประพฤติดี พฤติกรรมการแสดงออกทางกาย วาจา ที่ สุจริตและเกื้อกูล ตามความหมายนี้ จุดสังเกตอยูที่วา เรามักมองศีลในขอบเขตของศีลพื้นฐาน ที่เรียกกันวาศีล ๕ ซึ่งเปนเรื่องของพฤติกรรมทางกายวาจา ในการอยูรวมกัน คือในความสัมพันธทางสังคม ที่ไมเบียดเบียนกัน

แตที่จริง ความหมายของศีล มิใชจํากัดแคนี้

จุดสังเกตคือคําวา “กาย-วาจา” และ “ในความสัมพันธทางสังคม”

- กาย และวาจา เปนชองทางแสดงออก ชองทางทําการทํากรรม คําพระเรียกวา กรรมทวาร แตทวารมิใช แคนี้ ยังมีอีก

- ความสัมพันธทางสังคมนั้น เปนความสัมพันธกับสิ่งแวดลอม จําพวกหนึ่ง คือสิ่งแวดลอมทางสังคม แต สิ่งแวดลอมมิใชมีแคนี้ ยังมีอยางอื่นอีก

ขอใหดูวา แทจริงนั้น

ก) ทวาร คือชองทางติดตอกับโลกมี ๒ ชุด คือ

๑. กรรมทวาร ชองทางทําการ ทํากรรม มี ๓ คือ กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร ศีล ๕ เปนเรื่องของ การสื่อสารทําการตอโลกขางนอก จึงหมายเฉพาะ กายทวาร และวจีทวาร

๒. ผัสสทวาร ชองทางรับรู-เรียนรู ไดแกอินทรีย ๖ คือ จักขุ-ตา โสตะ-หู ฆานะ-จมูก ชิวหา-ลิ้น กายกาย มโน-ใจ


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |