| |
ข. วงจรสั้น  |   |  

ในทางปฏิบัติ บางครั้งพระพุทธเจ้าทรงแสดงกระบวนธรรมตามสภาพความเป็นไปในชีวิตประจำวัน ชนิดที่จะมองเห็นและเข้าใจกันได้ง่ายๆ ในกรณีเช่นนี้ กระบวนธรรมฝ่ายก่อเกิดทุกข์ หรือปฏิจจสมุปบาท สมุทยวาร จะเริ่มต้นที่การรับรู้ทางอายตนะทั้ง ๖ แล้วแล่นต่อไปทางข้างปลายตลอดสาย จนถึงชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาส ละช่วงต้นของกระบวนธรรมตั้งแต่อวิชชาเป็นต้นมา ไว้ในฐานให้เข้าใจว่ามีแฝงอยู่ด้วยพร้อมในตัว ส่วนกระบวนธรรมฝ่ายดับทุกข์ หรือปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร ก็จะตั้งต้นที่ดับตัณหาเป็นต้นไป คือตั้งต้นหลังจากรับรู้และเกิดเวทนาแล้ว ไม่ย้อนไปพูดถึงการดับอวิชชาเป็นต้นในช่วงแรกเลย ดังจะเห็นได้จากบาลีที่ยกมาเป็นตัวอย่าง ดังนี้

แสดงสมุทยวารก่อน แห่งหนึ่งว่า:

“ภิกษุทั้งหลาย เด็กนั้นเติบโตขึ้น อินทรีย์แก่กล้า เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ให้เขาปรนเปรอด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งสัมผัสกาย) ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ที่มีลักษณะน่ารัก เย้ายวน ชวนกำหนัด ชวนรักใคร่; เด็กนั้น เห็นรูปด้วยตา...ฟังเสียงด้วยหู...รู้กลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมติดใจในรูป ฯลฯ ในธรรมารมณ์ ที่มีลักษณะน่ารัก ย่อมขัดใจในรูป ฯลฯ ในธรรมารมณ์ ที่มีลักษณะไม่น่ารัก เด็กนั้นอยู่โดยปราศจากสติกำกับตัว และมีจิตด้อย (จิตใจไม่เจริญเติบโต) ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ (ภาวะเป็นอิสระปลอดพ้นของจิตใจ) ปัญญาวิมุตติ (ภาวะเป็นอิสระปลอดพ้นด้วยปัญญา) อันเป็นที่บาปอกุศลธรรมทั้งหลายดับไปไม่เหลือ.


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |  
หนังสือที่เกี่ยวข้อง