| |
ง. จำแนกโดยกิจกรรมและผลงานของมนุษย์  |   |  

ความรูที่จัดโดยกิจกรรมและผลงานของมนุษยไดแกความรูที่เนื่องดวยปฏิบัติการทางสังคม เชน การ สื่อสาร ถายทอด แสวงหา เอยอาง นับถือ สังกัด และที่เปนมรดกตกทอดตอกันมา เปนสมบัติของมวลมนุษย เปนความเจริญกาวหนาของอารยธรรม ความรูที่จัดตามแนวนี้ พอจำแนกได้เปน ๓ อยาง คือ98

๑. สุตะ หรือ สุติ ความรูที่ไดสดับ เลาเรียน หรือถายทอดตอกันมา แบงยอยไดเปน ๒

ก) ความรูที่ไดสดับตรับฟง บอกเลา สอนเรียน ถายทอดตอกันมา โดยทั่วไปนิยมเรียกวา สุตะ ในทางพระพุทธศาสนาถือวา สุตะเปนแหลงความรูที่สําคัญมาก เมื่อมองในแงของพัฒนาการทางปญญา ทานจัดเขาเปนปรโตโฆสะ และเนนปรโตโฆสะที่ดี โดยฐานเปนปจจัยแหงสัมมาทิฏฐิ99 การเรียนการสอน ขาวสาร ความรูประเภทตํารับตํารา และตํานานทั้งหลาย เปนสุตะ แมพระสูตรทั้งหลายในพระไตรปฎกก็เปนสุตะ (ทุกสูตรตามปกติขึ้นตนวา เอวมฺเม สุตํ)

ข) ความรูที่บางศาสนาถือวาไดรับการเปดเผยแจงดลใจจากองคบรมเทพ เชน พราหมณ์ถือวาพระเวทเปนความรูที่ไดรับถายทอดจากพระพรหมโดยตรง ความรูในขอนี้มักเรียกชื่อจําเพาะวา สุติตรงกับคําสันสกฤต วา ศฺรุติแตในทางพระพุทธศาสนาไมถือเปนความรูพิเศษตางหากออกไป จึงรวมเขาในประเภทสุตะเหมือนกันหมด จะเรียกวา สุตะ หรือสุติก็มีคาทางปญญาไมตางกัน ความแตกตางอยูที่เนื้อหาสาระ

๒. ทิฏฐิ ความเห็น ทฤษฎีลัทธิความเชื่อถือตางๆ ไดแก ความรูที่ไดลงขอสรุปใหแกตนอยางใดอยางหนึ่ง ประกอบดวยความยึดถือผูกพันกับตัวตน หรือมีลักษณะอาการที่อาจใหเกิดการถือแบงเปนของเขาของเราเปนตนไดดังเคยกลาวถึงแลวในขอกอน แตที่จัดเขาในชุดนี้เพราะมองในแงสังคมโดยฐานเปนกิจกรรมและผลงานของมนุษยในเมื่อความยึดถือนั้นขยายออกมา มีการแสดงหรือเผยแพรความเห็นออกไป มีผูเชื่อถือหรือ ยึดถือตาม อาจมีการรวมหมูรวมกลุม ตลอดจนจัดตั้งเปนสํานัก เปนตน

ทิฏฐินี้ (ตรงกับคําสันสกฤตวา ทฺฤษฺฏิ) มีไวพจน์มากมายหลายคํา แตที่ใชมากยิ่งและควรทราบคือ ขันติ (ขอที่เห็นเขากันได, หลักการที่เห็นสม) รุจิ (ขอที่ถูกใจ, หลักการที่ชื่นชอบ) และ ลัทธิ (ขอที่ไดไว, หลักการหลักความเชื่อ หลักปฏิบัติที่คิดขึ้นไดหรือถือเปนการไดรับผล)100รวมทั้งความเชื่อทางศาสนา

๓. ญาณ ความรูความหยั่งรูความรูบริสุทธิ์ความรูตรงตามสภาวะ หรือปญญาที่ทํางานออกผลเปนเรื่องๆ หรือมองเห็นตลอดสายในดานหนึ่งๆ ญาณเปนความรูระดับสุดยอดของปญญามนุษยและเปนผลสําเร็จสําคัญของมนุษยญาณไมวาจะเปนโลกิยญาณหรือโลกุตรญาณ เปนสวนผลักดันสําคัญใหเกิดความเจริญกาวหนาในอารยธรรมของมนุษยชาติญาณที่ยิ่งใหญสูงสุดเรียกชื่อเฉพาะวา โพธิหรือ โพธิญาณ แปลกันวา ความตรัสรู พระพุทธเจาทรงบรรลุ สัมมาสัมโพธิญาณ จึงทําใหเกิดพระพุทธศาสนา เปนดวงตาใหญของโลก


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |