| |
คุณค่าทางจริยธรรม  |   |  

๑. อายตนะเปนจุดเริ่มตน และเปนหัวเลี้ยวหัวตอของทางแยกระหวางกุศลกับอกุศล ทางสายหนึ่งนําไปสูความประมาทมัวเมา ความชั่ว และการหมกติดอยูในโลก อีกสายหนึ่งนําไปสูความรูเทาทัน การประกอบกรรมดีและความหลุดพนเปนอิสระ

ความสําคัญในเรื่องนี้อยูที่วา หากไมมีการฝกฝนอบรมใหเขาใจและปฏิบัติในเรื่องอายตนะอยางถูกตอง แลว ตามปกติมนุษยทั่วไปจะถูกชักจูงลอใหดําเนินชีวิตในทางที่มุงเพื่อเสพเสวยโลก เที่ยวทําการตางๆ เพียงเพื่อแสวงหารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ชอบใจ และความสนุกสนานบันเทิงตางๆ มาปรนเปรอตา หู จมูก ลิ้นผิวกาย และใจอยากของตน พอกพูนความโลภ โกรธ หลง แลวกอใหเกิดความวุนวายเดือดรอนทั้งแกตนและผูอื่น

พอจะเห็นไดไมยากวา การเบียดเบียนกัน การขัดแยงแยงชิง การกดขี่บีบคั้น เอารัดเอาเปรียบกัน ตลอดจนปญหาสังคมตางๆ ที่เกิดเพิ่มขึ้น และที่แกไขกันไมสําเร็จ โดยสวนใหญแลว ก็สืบเนื่องมาจากการดําเนิน ชีวิตแบบปลอยตัว ใหถูกลอถูกชักจูงไปในทางที่จะปรนเปรออายตนะอยูเสมอ จนเคยชินและรุนแรงยิ่งขึ้นๆ นั่นเอง

คนจํานวนมาก บางทีไมเคยไดรับการเตือนสติใหสํานึกหรือยั้งคิด ที่จะพิจารณาถึงความหมายแหงการ กระทําของตน และอายตนะที่ตนปรนเปรอบางเลย และไมเคยปฏิบัติเกี่ยวกับการฝกอบรมหรือสังวรระวัง เกี่ยวกับอายตนะหรืออินทรีย์ของตน จึงมีแตความลุมหลงมัวเมายิ่งๆ ขึ้น

การแกไขทางจริยธรรมในเรื่องนี้สวนหนึ่งอยูที่การสรางความเขาใจใหรูเทาทันความหมายของอายตนะและสิ่งที่เกี่ยวของวาควรจะมีบทบาทและความสําคัญในชีวิตของตนแคไหน เพียงไร และอีกสวนหนึ่ง ใหมีการ ฝกฝนอบรมดวยวิธีประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุม การสำรวมระวังใชงาน และรับใชอายตนะเหลานั้นในทางที่จะเปนประโยชนอยางแทจริงแกชีวิตของตนเองและแกสังคม

๒. อายตนะเปนแหลงที่มาของความสุขความทุกข ซึ่งเปนเปาหมายแหงการดําเนินชีวิตทั่วไปและความ เพียรพยายามเฉพาะกิจแทบทุกอยางของปุถุชน ดานสุขก็เปนการแสวงหา ดานทุกขก็เปนการหลีกหนี

นอกจากสุขทุกขจะเกี่ยวเนื่องกับปญหาความประพฤติดีประพฤติชั่วที่กลาวในขอ ๑ แลว ตัวความสุข ทุกขนั้น ก็เปนปญหาอยูในตัวของมันเอง ในแงของคุณคา ความมีแกนสาร และความหมายที่จะเขาพึ่งพาอาศัย มอบกายถวายชีวิตใหอยางแทจริงหรือไม


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |