ไปยังหน้า : |
วิธีจำแนกตามสภาวะอย่างง่ายๆ ก็คือ จำแนกตามหลักขันธ์ ๕ ความรู้เป็นนามธรรมจำพวกหนึ่ง ซึ่งกระจายอยู่ในนามขันธ์ (ขันธ์ที่เป็นนามธรรม หรือหมวดนามธรรม) ๓ ขันธ์ คือ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ความรู้ที่จำแนกตามสภาวะของขันธ์ ได้แก่ สัญญา วิญญาณ และปัญญา
๑. สัญญา คือ ความรู้ทั้งหมดที่อยู่ในสัญญาขันธ์ ได้แก่ ความกำหนดได้ หมายรู้ รวมทั้งความรู้ที่เกิด จากการกำหนดหมาย หรือหมายรู้แล้วบันทึกเก็บรวมไว้เป็นวัตถุดิบของความคิดต่อๆ ไป ทำให้มีการรู้จัก จำได้ รู้ เข้าใจ และคิดได้ยิ่งๆ ขึ้นไป
สัญญา แบ่งตามอารมณ์ คือ สิ่งที่หมายรู้ หรือ กำหนดจดหมายไว้ มี ๖ ชนิด คือ รูปสัญญา (สัญญากี่ยวกับรูป) สัททสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับเสียง) คันธสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับกลิ่น) รสสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับรส) โผฏฐัพพสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับสิ่งต้องกาย) ธัมมสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับเรื่องในใจหรือสิ่งที่ใจรู้และนึกคิด)68
ว่าโดยสภาพปรุงแต่ง สัญญาอาจแบ่งคร่าวๆ ได้ ๒ ระดับ คือ
๑) สัญญาชั้นต้น ได้แก่ ความหมายรู้ลักษณะอาการตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ โดยตรง เช่น หมายรู้ว่า สีเขียว ขาว ดำ แดง แข็ง อ่อน รสเปรี้ยว หวาน รูปร่างกลม แบน ยาว สั้น เป็นต้น69 รวมทั้งความหมายรู้เกี่ยวกับบัญญัติต่างๆ ว่า แมว ว่าโต๊ะ ว่าเก้าอี้ ฯลฯ
๒) สัญญาซอนเสริม ไดแก ความหมายรูไปตามความคิดปรุงแตง70 หรือตามความรูความเขาใจในระดับตางๆ เชน หมายรูวา สวย วานาเกลียด นาชัง วาไมเที่ยง วาไมใชตัวตน เปนตน ถาแยกยอยออกไปสัญญาซอนเสริมหรือสัญญาสืบทอดนี้ก็แบงไดเปน ๒ พวก คือ
- สัญญาซึ่งเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่เป็นอกุศล เรียกว่า ปปัญจสัญญา คือสัญญาฟ่ามเฝือหรือซับซ้อนหลากหลาย ซึ่งเกิดจากการแต่งเสริมเติมต่อให้พิสดาร ของตัณหา มานะ และทิฏฐิ เรียกอีกอย่างหนึ่งตามสำนวนอรรถกถาบางแห่งว่า กิเลสสัญญา แปลว่าสัญญาที่เกิดจากกิเลส หรือสัญญาที่ประกอบด้วยกิเลส