| |
- เอาการฝึกจากข้างนอกเข้าไปขับเคลื่อนกระบวนชีวิตข้างใน

ได้บอกแล้วว่าต้องรู้หลักกิจในอริยสัจ และปฏิบัติต่ออริยสัจแต่ละอย่างนั้นๆ ให้ถูกต้อง ทุกข์บอกว่าต้องจับให้ได้ว่าเป็นทุกข์อะไรอย่างไร สมุทัยบอกว่าต้องทำให้หมดเหตุสิ้นปัจจัย นิโรธบอกว่าต้องทำให้สำเร็จโดยหักปัจจยาการให้ได้ แล้วมรรคก็ปฏิบัติตั้งแต่วินิจฉัยจับทุกข์ให้ได้ และเมื่อรู้เหตุปัจจัยของมัน รู้จุดที่ต้องแก้ไขแล้ว ก็ลงมือทำให้สำเร็จผลไปตามนั้น

ท่านเปรียบไว้เหมือนแพทย์จะบำบัดโรครักษาคน เริ่มต้นต้องวินิจฉัยจับให้ได้ว่าเป็นโรคอะไร แล้วสืบค้นให้ได้ว่าเชื้อหรือตัวการก่อโรคคืออะไร แล้วการบำบัดจะสำเร็จหายโรคได้อย่างไร เช่นด้วยการให้ยาพวกไหน ผ่าตัดที่จุดใด จากนั้นก็ถึงมรรคคือดำเนินปฏิบัติการในการบำบัดรักษา จะสั่งยาอะไรๆ เท่าไร จะผ่าตัด จะทำกายภาพบำบัด ฯลฯ ก็ดำเนินกันไป

บอกแล้วว่า อริยสัจ ๓ ข้อแรกเป็นเรื่องของหลักของกระบวนของธรรมชาติ เราจะให้มันเป็นไปตามนั้น มนุษย์ก็ต้องลงมือทำลงมือปฏิบัติตามมรรค มรรคจึงเป็นเรื่องของมนุษย์ โดยที่ว่าเมื่อเรารู้หลักรู้กระบวนใน ๓ ข้อแรกนั้นแล้ว เราก็สามารถมาจัดวางเป็นระบบปฏิบัติการในการทำให้สำเร็จได้อย่างดีที่สุด พระพุทธเจ้าก็คือทรงรู้หลักรู้กระบวนของธรรมชาติที่นำมาเรียกว่าอริยสัจ ๓ ข้อนั้นชัดแจ้งแล้ว จึงทรงจัดวางระบบกระบวนวิธีปฏิบัติเรียกว่ามรรค เป็นอริยสัจข้อที่ ๔ ขึ้นมา

ตามหลักกิจในอริยสัจนี้ หน้าที่ของเราต่อมรรค คือ “ภาวนา” ที่แปลว่าพัฒนา คือลงมือทำ ปฏิบัติ ทำให้เจริญเพิ่มพูนก้าวหน้าไป โดยมุ่งเป้าใหญ่ไปที่ทุนปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ตัวนำกระบวนชีวิต ที่พูดไปแล้ว

ที่นี้มรรคนั้น เป็นกระบวนชีวิต เป็นเรื่องการเจริญพัฒนาภายในชีวิตของแต่ละคน ตั้งต้นแต่พัฒนาสัมมาทิฏฐิอย่างที่ว่าแล้ว

แต่มนุษย์นี้ ด้วยปัญญานี่แหละ ก็รู้จักที่จะจัดการจากภายนอกมาช่วยให้คนพัฒนากระบวนชีวิตข้างในด้วย

ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ในการที่คนจะพัฒนาปัญญาของเขานั้น คนอื่นก็มาช่วยให้เขาพัฒนาตัวของเขาได้ เป็นการจัดการจากภายนอก เหมือนกับมาป้อนอาหารให้ แต่ที่จริงก็คือเขาต้องเคี้ยวต้องกลืนอย่างน้อยต้องย่อยเอง และแม้แต่ที่มาป้อนให้นั้น ก็เป็นการมาช่วยให้ฝึกตัวให้หัดตักกินเองได้ต่อไป

อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ อย่าง คือ


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |  
หนังสือที่เกี่ยวข้อง