| |
เทียบกามสุขต่ำไว้ เพื่อให้เร่งพัฒนาความสุข จะได้มีสุขที่เลือกได้และก้าวขึ้นไปให้ถึงสุขที่สูงสุด  |   |  

เมื่อมีความสุขที่ประณีตกว่าเข้ามาเทียบ ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่กามสุขจะตกต่ำ มีค่าน้อย ดังคำที่ท่านใช้เรียกกามสุขโดยเปรียบเทียบกับฌานสุขว่า กามสุข เป็นปุถุชนสุข (สุขของปุถุชน) เป็นมิฬหสุข (สุขเลอะเทอะ หรือสุขหมักหมม) เป็นอนริยสุข (สุขของผู้ยังไม่เป็นอริยะ) พร้อมทั้งบรรยายโทษว่า เป็นสิ่งที่มีทุกข์ มีความอึดอัด ข้องขัด คับแค้น และเร่าร้อน เป็นมิจฉาปฏิปทา คือทางดำเนินที่ผิด

ทั้งนี้ ตรงข้ามกับ ฌานสุข หรือสุขด้านใน (อัชฌัตตสุข) ซึ่งเป็นเนกขัมมสุข (สุขปลอดจากกาม) เป็นปวิเวกสุข (สุขอิงความสงัด) เป็นอุปสมสุข (สุขที่ช่วยให้เกิดความสงบ หรือช่วยให้บรรลุนิพพาน) เป็นสัมโพธิสุข (สุขที่ช่วยให้ตรัสรู้) และมีลักษณะที่เป็นคุณ คือ เป็นสิ่งที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีความอึดอัดขัดข้องคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน และเป็นสัมมาปฏิปทา คือทางดำเนินหรือข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้น หรือนิพพาน 2110

อย่างไรก็ตาม การที่ท่านมักพูดกด และแสดงโทษของกามสุข อย่างมากมาย และบ่อยครั้งนี้ ไม่พึงมองเป็นว่าท่านตั้งหน้าตั้งตาจะประณาม หรือมุ่งเหยียดหยามกามสุข


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |