| |
ข) ค้นเหตุปัจจัยให้พบด้วยปัญญา ไม่มัวหาที่ซัดทอด  |   |  

๒. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา เข้ามาตอนนี้ เพราะเป็นเรื่องที่ถึงลำดับ คือ เมื่อต้องการดับทุกข์ ก็ต้องกำจัดสาเหตุของมัน เมื่อกำหนดหรือจับได้แล้วว่าทุกข์หรือปัญหาของตนคืออะไร เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหนแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะสืบสาวหาสาเหตุต่อไป เพื่อจะได้ทำกิจแห่งปหานะ คือละหรือกำจัดมันเสีย

อย่างไรก็ตาม แม้เมื่อค้นหาสาเหตุ คนก็มักเลี่ยงหนีความจริง ชอบมองออกไปข้างนอก หรือมองให้ไกลตัวจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยมักมองหาตัวการข้างนอกที่จะซัดทอดได้ หรือถ้าจะเกี่ยวกับตัวเอง ก็ให้เป็นเรื่องห่างไกลออกไป จนรู้สึกว่าพ้นจากความรับผิดชอบของตน

สิ่งที่มักถูกซัดทอดให้เป็นสาเหตุนั้น ปรากฏออกมาเป็นลัทธิที่ผิด ๓ ประเภท คือ 1768

๑) ปุพเพกตวาท ลัทธิกรรมเกา ถือวา สุขทุกขทั้งปวงที่ประสบในบัดนี้เปนเพราะกรรมที่ทําไวปางกอน ไมวาจะพบทุกขเจอสุขอะไร ก็ยกใหเปนเรื่องกรรมเกา

๒) อิศวรนิรมิตวาท ลัทธิพระเปนเจา ถือวา สุขทุกขทั้งปวงที่ประสบในบัดนี้เปนเพราะการบันดาล ของเทพผูเปนใหญ ไมวาจะหนีเรื่องรายหรืออยากไดเรื่องดีก็หวังบารมีเทพเจา

๓) อเหตุวาท ลัทธิคอยโชค ถือวา สุขทุกขทั้งปวงที่ประสบในบัดนี้เปนไปเอง แลวแตโชคชะตาที่ เลื่อนลอย ไมมีเหตุไมมีปจจัย อะไรๆ จะดีหรือราย ทําอะไรไมไดวารอใหถึงคราว ก็จะเปนไปเอง

ทางธรรมปฏิเสธลัทธิเหล่านี้ เพราะขัดต่อกฎธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย แต่ให้มองหาสาเหตุของทุกข์ตามกฎธรรมดาที่ว่านั้น โดยมองเหตุปัจจัย เริ่มที่ตัวคน และในตนเอง ได้แก่ กรรม คือการกระทำ การพูด การคิด ที่ดีหรือชั่ว ซึ่งได้ประกอบแล้ว และกำลังประกอบอยู่ และที่ได้สั่งสมไว้เป็นลักษณะนิสัย ตลอดจนการตั้งจิตวางใจต่อสิ่งทั้งหลาย และการมีความสัมพันธ์อย่างถูกต้อง หรือผิดพลาด กับเหตุปัจจัยในบรรดาสภาพแวดล้อม

ในขั้นพื้นฐาน ท่านกล่าวลึกลงไปอีกว่า ตัณหา ความทะยานอยาก ที่ทำให้วางใจ วางตัว ปฏิบัติตน แสดงออก สัมพันธ์ และกระทำต่อชีวิตและโลกอย่างไม่ถูกต้อง อย่างไม่เป็นไปด้วยความรู้ตามเป็นจริง แต่เป็นไปด้วยความยินดียินร้าย ชอบชัง เป็นต้น ตลอดจนกิเลสปกป้องตัวตนทั้งหลาย เช่น ความกลัว ความถือตัว ความริษยา ความหวาดระแวง ฯลฯ ที่สืบเนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ คือที่มาแห่งปัญหาความทุกข์ของมนุษย์


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |