| |
คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์  |   |  

ขอยกเอาหลักธรรมนิยามที่แสดงไตรลักษณ์ หรือสามัญลักษณะ ๓ อย่าง มาตั้งเป็นหัวข้ออีกครั้งหนึ่งเพื่ออธิบายให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ตามแนวหลักวิชาที่มีหลักฐานอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ ดังนี้

๑. สังขาร ทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง

๒. สังขาร ทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์

๓. ธรรม ทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา

สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เรียกตามคำบาลีว่า เป็นอนิจจ์ หรืออนิจจะ แต่ในภาษาไทยนิยมใช้คำว่าอนิจจัง, ความไม่เที่ยง ความเป็นสิ่งไม่เที่ยง หรือภาวะที่เป็นอนิจจ์หรืออนิจจัง นั้น เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า อนิจจตา, ลักษณะที่แสดงถึงความไม่เที่ยง เรียกเป็นศัพท์ว่า อนิจจลักษณะ

สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ในภาษาไทย บางทีใช้อย่างภาษาพูดว่า ทุกขัง, ความเป็นทุกข์ ความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ความเป็นสภาวะมีความบีบคั้นขัดแย้ง หรือภาวะเป็นทุกข์นั้น เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า ทุกขตา, ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ เรียกเป็นศัพท์ว่า ทุกขลักษณะ

ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา, ความเป็นอนัตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน หรือภาวะที่เป็นอนัตตานั้น เรียก เป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า อนัตตตา, ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นอนัตตา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อนัตตลักษณะ

ในหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตตา นั้น มีข้อที่ควรทำความเข้าใจ และอธิบาย เพิ่มเติม ดังนี้


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |  
หนังสือที่เกี่ยวข้อง