| |
จะละตัณหา ก็ใช้ตัณหาได้ แต่ไม่วายต้องระวัง  |   |  

ส่วนตัณหา ที่ท่านว่าให้ละเสีย ณ ที่มันเกิด หรือถอนทิ้งเสียทีเดียวนั้น เป็นหลักการทั่วไป แต่ในทางปฏิบัติ ท่านก็ยอมรับความอ่อนแอ ความเคยชิน และความไม่พร้อมต่างๆ ของปุถุชนเหมือนกัน ดังนั้น จึงเกิดมีวิธีปฏิบัติตามข้อสรุปประการที่สาม ซึ่งได้กล่าวไว้ข้างต้น คือ เอาตัณหาไปใช้ประโยชน์ ทำให้เกิดผลในทางที่ดีงาม

ตามตัวอย่างที่ท่านแสดงไว้ในบาลี การเอาตัณหาไปใช้ประโยชน์นั้น สามารถใช้แม้แต่เพื่อประโยชน์สูงสุด คือเพื่อบรรลุนิพพาน โดยเกิดเป็นหลักการย่อยลงมาว่า พึงอาศัยตัณหาละตัณหา

ดังข้อความที่พระอานนท์กล่าวกะภิกษุณีรูปหนึ่งที่หลงรักท่านว่า


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |