| |
บันทึกที่ ๒: การเรียกชื่อศีล ๕ และธรรมจริยา ๑๐  |   |  

ศีล ๕ เป็นคำรุ่นหลังสักหน่อย ในพระไตรปิฎกมีใช้น้อยแห่ง และใช้ในกรณีที่ไม่แจกแจงหัวข้อ เป็นทำนองชื่อเรียกให้จำกันง่ายๆ หรือไม่เป็นหลักวิชามากนัก เท่าที่พบมีใน วินย.7/262/117 กล่าวถึงศีล ๕ แต่ไม่แจงหัวข้อ และใน ขุ.ปฏิ.31/91/67 กล่าวถึงศีล ๕ แต่พอแจงหัวข้อ กลายเป็นกุศลกรรมบถ ๑๐ ไป ต่อมาในชั้นอรรถกถา และหลังจากนั้น จึงเรียกศีล ๕ กันดื่นขึ้น

ส่วนคำเดิมที่เรียกศีล ๕ ในพระไตรปิฎก ได้แก่คำว่า ธรรม ๕ บ้าง สิกขาบท ๕ บ้าง แจงแต่หัวข้อไว้ไม่เรียกชื่อรวมบ้าง; ที่เรียกสิกขาบท ๕ ได้แก่ ที.สี.9/234/187; ที.ปา.11/286/247; องฺ.ปญฺจก.22/179/236; อภิ.วิ.35/767-774/388-396; นอกจากนั้นเรียกว่า ธรรม ๕ บ้าง สุกกกรรมบ้าง การไม่มีภัยเวร ๕ บ้าง เป็นความหมายของความมีศีลสำหรับอุบาสกบ้าง เรียกแต่หัวข้อ ไม่มีชื่อเรียกรวมบ้าง ดังนี้ สํ.สฬ.18/483/303; องฺ.ปญฺจก.22/145/191; องฺ.ปญฺจก.22/171-174/227-229; องฺ.ปญฺจก.22/178/233; องฺ.ปญฺจก.22/264/307; องฺ.ปญฺจก.22/32/37; องฺ.ติก.20/519/290; องฺ.สตฺตก.23/115/223; ขุ.ม.29/764/470; ม.ม.13/417/383; สํ.นิ.16/152/83; สํ.ม.19/1575/489; ที.ม.10/15/14 = ม.อุ.14/366/249; ที.ปา.11/208/209; องฺ.จตุกฺก.21/53/75; องฺ.จตุกฺก.21/99/130; องฺ.จตุกฺก.21/235/319; องฺ.จตุกฺก.21/201/296 = อภิ.ปุ.36/104/180; ขุ.อิติ.25/252/279; อภิ.วิ.35/986/511; และเป็นส่วนหนึ่งของคิหิวัตร หรือคหัฏฐวัตร ใน ขุ.สุ.25/353/402

ส่วนกุศลกรรมบถ หรือธรรมจริยา ๑๐ มีชื่อเรียกมากมายหลายอย่าง และที่เรียงแต่หัวข้อไว้ครบชุด แต่ไม่เรียกชื่อรวมก็มีเป็นอันมาก บาลีที่บรรจุคำสอนเรื่องนี้มากที่สุด คือ องฺ.ทสก.24/156-202/267-332 (แห่งเดียวยาว ๖๕ หน้า) นอกจากนี้มี ที.สี.9/211/176; ที.ม.10/305/359; ที.ปา.11/47/81; ที.ปา.11/53/89; ที.ปา.11/360/284; ม.มู.12/485/523; ม.มู.12/527/569; ม.ม.13/473/434; ม.ม.13/619/562; ม.อุ.14/202-208/147; ม.อุ.14/603/390; สํ.สฬ.18/600/385; สํ.สฬ.18/619/396; สํ.สฬ.18/665/429; องฺ.ติก.20/557-560/346-350; องฺ.ติก.20/598/383; องฺ.จตุกฺก.21/54/78; องฺ.จตุกฺก.21/204/301; องฺ.จตุกฺก.21/264/341; ขุ.ม.29/42/43; ขุ.ม.29/53/55 = ขุ.ม.29/973/619; ขุ.ม.29/387/261; อภิ.วิ.35/930/492; อภิ.วิ.35/1028/528; อภิ.ปุ.36/105-106/182-184


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |