| |

แม้ว่าชีวิตจะประกอบด้วยขันธ์ ๕ ซึ่งแบ่งซอยออกไปเป็นหน่วยย่อยต่างๆ มากมาย แต่ในทางปฏิบัติ คือ ในการดำเนินชีวิตทั่วไป มนุษย์ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนประกอบเหล่านั้นโดยทั่วถึงแต่อย่างใด ส่วนประกอบหลายอย่างมีอยู่และทำหน้าที่ของมันไปโดยมนุษย์ไม่รู้จัก หรือแม้รู้จัก ก็แทบไม่ได้นึกถึงเลย เช่น ในด้านรูปธรรม อวัยวะภายในร่างกายหลายอย่าง ทำหน้าที่ของมันอยู่โดยมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของไม่รู้และไม่ได้ใส่ใจที่จะรู้ จนบางคราวมันเกิดความวิปริตหรือทำหน้าที่บกพร่องขึ้น มนุษย์จึงจะหันมาสนใจ แม้องค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการฝ่ายจิตก็เป็นเช่นเดียวกัน

การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ และกระบวนการทำงานทางร่างกาย เราปล่อยให้เป็นภาระของนักศึกษาทางแพทยศาสตร์และชีววิทยา ส่วนการศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการทำงานด้านจิตใจ ก็ปล่อยให้เป็นภาระของนักอภิธรรมและจิตวิทยา แต่สำหรับคนทั่วไป ความหมายของชีวิตอยู่ที่ชีวิตในทางปฏิบัติ หรือชีวิตที่ดำเนินอยู่เป็นประจำในแต่ละวัน ซึ่งได้แก่การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลก สิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิตก็คือการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลก พูดสั้นๆ ว่า ชีวิตตามความหมายของมนุษย์ คือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลก

ชีวิตในทางปฏิบัติหรือชีวิตโดยความสัมพันธกับโลกนี้แบงออกไดเปน ๒ ภาค แตละภาคมีระบบการ ทํางานซึ่งอาศัยชองทางที่ชีวิตจะติดตอเกี่ยวของกับโลกได้ ซึ่งเรียกวา “ทวาร” (ประตู, ชองทาง) ดังนี้

๑. ภาครับรูและเสพเสวยโลก อาศัยทวาร ๖53 (ผัสสทวาร) คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สําหรับรับรูและเสพเสวยโลกซึ่งปรากฏแกมนุษยโดยลักษณะและอาการตางๆ ที่เรียกวา อารมณ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ

๒. ภาคแสดงออกหรือกระทําตอโลก อาศัยทวาร ๓54 (กรรมทวาร) คือ กาย วาจา ใจ (กายทวาร วจี-ทวาร มโนทวาร) สําหรับกระทําตอบตอโลก โดยแสดงออกเปนการทํา การพูด และการคิด (กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)

ในภาคที่ ๑ มีขอที่พึงย้ำเปนพิเศษเพื่อสะดวกแกการศึกษาตอไปวา คําวา “ทวาร” (ในทวาร ๖) นั้น เมื่อ กลาวถึงในระบบการทํางานของกระบวนธรรมแหงชีวิต ทานนิยมเปลี่ยนไปใชคําวา “อายตนะ” ซึ่งแปลวา แดนเชื่อมตอใหเกิดความรู หรือทางรับรู ดังนั้น ในการศึกษาเรื่องนี้ตอไป จะใชคําวา “อายตนะ”แทนคําวา “ทวาร”

ในภาคที่ ๒ พึงย้ําวา กระบวนธรรมของชีวิตในภาคนี้รวมอยูในขันธ์ ขันธ์ที่ ๔ คือ สังขารขันธที่กลาวมาแลวในบทกอน สังขารตางๆในสังขารขันธซึ่งมีอยูมากมาย แบงเปนฝายดีบาง ฝายชั่วบาง ฝายกลางๆบาง จะปรากฏตัวออกมาปฏิบัติการโดยถูกเจตนาที่เปนหัวหนาหรือเปนตัวแทนเลือกชักจูงมา หรือจัดแจงมอบหมายหนาที่ใหชวยกันทําการปรุงแตงการแสดงออกหรือการกระทําทาง กาย วาจา ใจ เกิดเปนกรรม คือการทํา การพูด การคิด


เกี่ยวกับพุทธธรรมออนไลน์ (Disclaimer)
"เนื้อหาที่เผยแพร่ในระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" นี้ เป็นเนื้อหาที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลังการพิมพ์ครั้งที่ ๕๓ เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยยังมิได้ผ่านการตรวจสอบของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประกอบกับหนังสือพุทธธรรมนี้ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นระยะ แม้ระบบ "พุทธธรรม ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

  |