ไปยังหน้า : |
๒. ทุกขสมุทัย เรียกสั้นๆ ว่า สมุทัย แปลว่า เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ได้แก่ ความอยาก ที่ยึดถือเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง โดยอาการที่มีเรา ซึ่งจะเสพ ที่จะได้ จะเป็น จะไม่เป็น อย่างนั้นอย่างนี้ ทำให้ชีวิตถูกบีบคั้นด้วยความเร่าร้อน ร่านรน กระวนกระวาย ความหวงแหน เกลียดชัง หวั่นกลัว หวาดระแวง ความเบื่อหน่าย หรือความคับข้องติดขัด ในรูปใดรูปหนึ่ง อยู่ตลอดเวลา ไม่อาจปลอดโปร่งโล่งเบา เป็นอิสระ สดชื่น เบิกบานได้ อย่างบริสุทธิ์สิ้นเชิง ไม่รู้จักความสุข ชนิดที่เรียกว่า ไร้ไฝฝ้า และไม่อืดเฟ้อ
๓. ทุกขนิโรธ เรียกสั้นๆ ว่า นิโรธ แปลว่า ความดับทุกข์ ได้แก่ภาวะที่เข้าถึง เมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกตัณหาย้อมใจ หรือฉุดลากไป ไม่ถูกบีบคั้นด้วยความรู้สึกกระวนกระวาย ความเบื่อหน่าย หรือความคับข้องติดขัดอย่างใดๆ หลุดพ้นเป็นอิสระ ประสบความสุขที่บริสุทธิ์ สงบ ปลอดโปร่งโล่งเบา ผ่องใส เบิกบาน เรียกสั้นๆ ว่านิพพาน
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เรียกสั้นๆ ว่า มรรค แปลว่า ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับทุกข์ หรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือทางประเสริฐ มีองค์ประกอบ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา เพราะเป็นทางสายกลาง ซึ่งดำเนินไปพอดีที่จะให้ถึงนิโรธ โดยไม่ติดข้องหรือเอียงไปหาที่สุดสองอย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค (ความหมกมุ่นในกามสุข) และอัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากแก่ตน คือ บีบคั้นทรมานตนเองให้เดือดร้อน)
ในหนังสือนี้ ได้กล่าวถึงปฏิจจสมุปบาทไว้มาก และหลายอย่าง ทั้งอริยสัจ และปฏิจจสมุปบาท ต่างก็เป็นหลักธรรมสำคัญ
เมื่อมีผู้ถามว่า “พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?” อาจตอบว่า ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรืออาจตอบว่า ตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท ก็ได้ คำตอบทั้งสองนั้น ต่างก็มีพุทธพจน์เป็นที่อ้างยืนยันได้
ข้อควรทราบ ก็คือ คำตอบทั้งสองอย่างนั้น ตามที่จริงแล้ว ก็ถูกต้องด้วยกัน และมีความหมายลงกันได้เป็นอันหนึ่งอันเดียว กล่าวคือ ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นเนื้อหาสำคัญของอริยสัจ และอริยสัจก็มีความหมายครอบคลุมปฏิจจสมุปบาท เรื่องนี้เป็นอย่างไร พึงพิจารณาเริ่มตั้งแต่หลักฐานที่มาในคัมภีร์
คัมภีร์วินัยปิฎก 1757 เล่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ หลังจาก เสวยวิมุตติสุข ๑ สัปดาห ไดเสด็จออกจากสมาธิ แลวทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ที่ไดตรัสรูนั้น ตลอดเวลา ๓ ยามแหงราตรี โดยอนุโลม โดยปฏิโลม และทั้งอนุโลม-ปฏิโลม ตามลําดับ
ตอมา เมื่อสิ้นระยะเสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาหแลว เมื่อปรารภการที่จะทรงประกาศธรรมแกผูอื่นตอไป ทรงพระดําริวา:
“ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ฯลฯ สำหรับหมู่ประชา ผู้เริงรมย์ รื่นระเริงอยู่ในอาลัย ฐานะอันนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท; แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยากนัก กล่าวคือ...นิพพาน” 1758